แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนกวดวิชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมในการใช้บริการโรงเรียนกวดวิชา การรับรู้ข่าวสารโรงเรียนกวดวิชาของผู้ปกครองและนักเรียนจากการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนกวดวิชาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ผู้ปกครองและ นักเรียนจำนวน 400 คน และแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สอนในโรงเรียนกวดวิชาจำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มใช้ Pearson Correlation
ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนบุคคล ในกลุ่มผู้ปกครอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 44-50 ปี การศึกษาปริญญาตรี อาชีพ พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน มีบุตรหลานที่กำลังเรียนอยู่ 1-2 คน ในระดับประถม เรียนกวดวิชา 1 คน กลุ่มนักเรียน เป็นเพศหญิง อายุ 13-18 ปี ผู้ปกครองอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ทั้ง 2 กลุ่มมีรายได้ของครอบครัวมากกว่า 80,000 บาทต่อเดือน เริ่มกวดวิชาในระดับประถม เริ่มเรียน วิชาคณิตศาสตร์ 2) พฤติกรรมการใช้บริการทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่ต้องการเรียนกวดวิชาเพราะต้องการเนื้อหาที่เข้มข้นกว่าที่โรงเรียนเพื่อนำไปใช้ในการสอบแข่งขันทางวิชาการ ต้องการเรียนกวดวิชาช่วงเปิดเทอมวันเสาร์-วันอาทิตย์ วิชาที่ต้องการเรียนมากที่สุดคือ วิชาคณิตศาสตร์ มีการวางแผนค่าเรียนกวดวิชาประมาณ 5,001-10,000 บาท 3) การรับรู้ข่าวสารในกลุ่มผู้ปกครองมีระดับการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีระดับการรับรู้สูงสุด คือการโฆษณา ด้านที่ต่ำสุด คือ การประชาสัมพันธ์ กลุ่มนักเรียน มีระดับการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีระดับการรับรู้สูงสุด คือ การขายโดยบุคคล ด้านที่ต่ำสุด คือ การประชาสัมพันธ์ ส่วนระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงเรียนกวดวิชาของผู้ปกครอง พบว่ามีระดับการตัดสินใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับการตัดสินใจสูงสุด คือ ด้านครูผู้สอน ด้านต่ำสุด คือ ด้านมาตรฐาน กลุ่มนักเรียนมีระดับการตัดสินใจสูงสุด คือ ด้านครูผู้สอน ด้านต่ำสุด คือ ด้านความเชื่อมั่นในการให้บริการและสถานที่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารโรงเรียนกวดวิชากับการตัดสินใจเลือกสถานที่เรียนกวดวิชา สรุปว่ามีความสัมพันธ์กันระดับปานกลาง ด้านที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด คือ ด้านการขายโดยบุคคลกับด้านความรู้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r =0.342) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4)แนวทางในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการสำหรับโรงเรียนกวดวิชา คือ การใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย คือ การขายโดยบุคคล การโฆษณา กิจกรรมทางการตลาด และการตลาดทางตรง ที่ได้ที่พบว่ามีระดับการรับรู้มากในกลุ่มตัวอย่างแล้วนำมาสร้างเครื่องมือการสื่อสารให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับข่าวสารของโรงเรียนกวดวิชา
Article Details
References
2. จุฬาภรณ์ มาลัย. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนกวดวิชา. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3. ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2556). IMC & Marketing Communication กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: แบรนด์เอจ บุ๊คส์.
4. ณัฐา ฉางชูโต. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communications). พิมพ์ครั้งที่ 8. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
5. ดอน ชูลท์และไฮด์ดี้ ชูลท์. (2550). The Next generation IMC: ห้าขั้นตอนการสร้างมูลค่าและวัดผลตอบแทนโดยการใช้การสื่อสารการตลาด (IMC, the next generation: Five steps for derivering value and measuring financial returns). ณฤดี เต็มเจริญ คริสธานินทร์ และพนารัตน์ ลิ้ม (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร. พิฆเณศพรินท์ติ้ง เซ็นเตอร์.
6. มติชนออนไลน์. (2559) สรุปยอดรับม.1ใน 10 ร.ร.ดัง กทม. ร.ร.สวนกุหลาบฯ มากสุด1.2 พัน. ออนไลน์ (Online) https://www.matichon.co.th/news/84161. วันที่ 26 มีนาคม 2559.
7. ไมเคิล เอ เบลช์ และ จอร์จ อี เบลช์. (2551). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด (Advertising and Promotion). กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิล.
8. พัชรินทร์ พิริยะสงวนพงษ์. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนกวดวิชา ระดับประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
9. วรินทรา แก้วประดิษฐ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเรียนโรงเรียนกวดวิชาของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
10. วิจารณ์ พานิช. (2552). การจัดการความรู้คืออะไร. ออนไลน์ (Online). http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html. 15 มกราคม 2560
11. ศิโรจน์ ผลพันธิน และคณะ. (2549). การศึกษาการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนนอกระบบโรงเรียน ประเภทกวดวิชา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
12. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). โรงเรียนกวดวิชาปี’58 แข่งขันรุนแรงขึ้น คาดจำนวนนักเรียนไม่ลดลงส่งผลให้ตลาดยังคงโตขึ้น 6.8% (ปีที่ 21 ฉบับที่ 2601, วันที่ 11 มีนาคม 2558). http://www.kasikornresearch.com
13. สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2556). สถิติการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2556. ออนไลน์ (Online). http://www.opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/stat56.pdf.
14. Mark, B. (1999). The Shadow Education System: Private Tutoring and its Implications for Planner. Paris : UNESCO/IIEP.
15. Susan, F. (2004). Marketing: Integrated Communications, Advertising Effectiveness and Brand Equity. (On-line). http://www.emeraldinsight.com., April 28, 2016.