การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
จันทร์ชลี มาพุทธ
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา เพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 400 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบเพื่อทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการพัฒนาแผนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม จำนวน
30 คน โดยการสุ่มแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ด้านความรับผิดชอบ
ในวิชาชีพ ด้านการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ส่วนลำดับสุดท้าย ได้แก่
ด้านการมีวินัย เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา จำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามชั้นปีและผลการศึกษาโดยรวมไม่แตกต่างกัน
2. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา เพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 กระบวนการ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้
สุนทรียสนทนา การสะท้อนการเรียนรู้ การฝึกทบทวนความรู้ด้วยตนเอง และการทบทวนความรู้ด้วยการจดบันทึก เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกศรา น้อยมานพ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กรณีศึกษารายวิชาการแนะแนวและการพัฒนาผู้เรียน. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
2. จันทร์ชลี มาพุทธ. (2552). รายงานการวิจัยผลการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา: กรณีศึกษารายวิชาปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษา. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2553). จิตตปัญญา: การเรียนรู้จิตสำนึกใหม่. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
4. ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์ : แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 23-24.
6. พรพิพัฒน์ เพิ่มผล. (2545). รูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษาเพื่อส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2547. (2547, 14 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 2-3.
8. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2544). ภาวะวิกฤติและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เพื่อปฏิรูปการศึกษาในแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545-2554). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. พลวัต วุฒิประจักษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตครูที่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
10. พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2540). มองการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ . วารสารข้าราชการครู. 17:2 (ธันวาคม 2539 - มกราคม 2540), 45-50.
11. พักตร์วิภา โพธิ์ศรี. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา รายวิชาสังคมวิทยาการศึกษา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
12. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2542). การปลูกฝังความสำนึกทางสังคมในหมู่นิสิตนักศึกษาไทย. อุดมศึกษา วิพากษ์รวมบทวิเคราะห์วิจารณ์การอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์. (2555). แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
14. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2543). แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
15. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
16. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). เลขาธิการสภาการศึกษาย้ำคุณภาพการศึกษาของเด็กขึ้นอยู่กับครูผู้สอน. วารสารการศึกษาไทย, 12(120), 7-8.
17. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
18. สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา. (2551). กิจกรรมนักศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
19. สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล. (2556). กิจกรรมสร้างเสริมวินัยในตนเองของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
20. สุพิชญา โคทวี. (2553). จิตตปัญญาศึกษาทางเลือกใหม่ของการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
21. สุวิมล ว่องวานิช. (2544). การพัฒนามาตรฐานคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
22. อัคพงศ์ สุขมาตย์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
23. อัจฉรา พลายเวช (2549). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจริยธรรมครู. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีวิจัยทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
24. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการบูรณาการคุณค่าของความเป็นมนุษย์โดยอิงแนวคิดการเรียนรู้จากการหยั่งรู้ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
25. Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.
26. Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.
27. Daniel David Seitz. (2009). Integrating contemplative and student-centered edcution: A synergistic approach to deep learning. Doctoral Dissertation, University of Massachusetts.
28. Kathryn Byrnes. (2009). Portraits of contemplative teaching: A third way. Dissertation, University of Colorado.
29. Strickland, A. W. (2006). ADDIE. Idaho State University College of Education Science, Math & Technology Education. Retrieved From http://www.ed.isu.edu/addie/index.htm.
30. Yamane, Taro. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.