ปริมาณใยอาหารและคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียของใยอาหารจากเปลือกทุเรียน ที่ผ่านการทำแห้งแบบลมร้อนและแบบแช่เยือกแข็ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณใยอาหารและการต้านแบคทีเรียของใยอาหารที่สกัดจากเปลือกทุเรียนโดยผ่านการทำแห้งแบบลมร้อนและแบบแช่เยือกแข็ง การทดลองทำได้โดยสกัดเปลือกทุเรียนด้วยน้ำกลั่นที่อัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 กวนอย่างสม่ำเสมอที่อุณหภูมิ 60 และ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5, 10 และ 15 นาที นำใยอาหารที่ได้มาทำแห้งแบบลมร้อนและแบบแช่เยือกแข็ง คำนวณปริมาณผลผลิต วิเคราะห์ปริมาณใยอาหารและการต้านแบคทีเรีย การทดลองแสดงให้เห็นว่าใยอาหารที่เตรียมได้ด้วยการใช้น้ำกลั่นที่อัตราส่วน 1:1 ผ่านความร้อนและกวนอย่างสม่ำเสมอที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที และทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เป็นสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดใยอาหารโดยมีสัดส่วนปริมาณใยอาหารที่ละลายน้ำและใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำต่อปริมาณใยอาหารทั้งหมด เท่ากับร้อยละ 19.11 และ 80.89 ตามลำดับ สารสกัดจากใยอาหารที่ผ่านการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและแบบลมร้อนสามารถต้านเชื้อ Bacillus subtilis TISTR 2372, Staphylococcus aureus TISTR 2329, Escherichia coli TISTR 073 และ Salmonella typhimurium TISTR 1469 ได้เมื่อเทียบกับตัวควบคุม
Article Details
References
2. วิสสุตา คุ้มวงษา และคณะ. (2558). ประสิทธิภาพของเจลล้างมือผสมสารสกัดจากเปลือกผลไม้ในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 1(2), 66-81.
3. วีรเชษฐ์ จิตตาณิชย์. (2559). กระบวนการทำแห้ง ใน คณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4. โศรดา วัลภา และคณะ. (2553). ผลของการเสริมใยอาหารจากเปลือกทุเรียนต่อคุณภาพของขนมปังขาว. วิทยาศาสตร์เกษตร. 40 (3/1) (พิเศษ): 205-208.
5. สุคนธ์ ตันติไพบูลย์วุฒิ และคณะ. (2555). ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกผลไม้บางชนิด. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 17(6), 880-894.
6. สุรัตน์ โคมินทร์. (2534). อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ: แนวทางในการบริโภคน้ำตาลและใยอาหารมีความสำคัญหรือไม่. สถาบันวิจัยโภชนาการและคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
7. หยาดฝน ทนงการกิจ. (2556). การใช้ประโยชน์จากเศษผักผลไม้เหลือทิ้งเพื่อผลิตเป็นใยอาหารผง. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 9(1), 31-38.
8. อภิรักษ์ เพียรมงคล. (2549). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเส้นใยอาหารผงจากกากส้มเขียวหวาน กากส้มสายน้ำผึ้ง กากส้มสีทอง และเปลือกส้มโอ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.
9. อังคณา คงคชวรรณ และคณะ. (2557). การสกัดเส้นใยอาหารจากเปลือกและแกนสับปะรด. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 891-895.
10. AOAC. (2012). Official Method of Analysis. 19thedition Association of Official Analytical Chemistry.
11. Fuentes-Alventosa, J.M. et al. (2009). Effect of Extraction Method on Chemical Composition and Functional Characteristics of High Dietary Fibre Powders Obtained from Asparagus By Products. Food Chemistry. 113: 665-671.
12. Grigelmo-Miguel, N. & Martin-Belloso, O. (1999). Comparison of Dietary Fibre from By Products of Processing Fruits and Greens and from Cereals. LWT-Food Science and Technology. 32: 503-508.
13. Larrauri, J.A. et al. (1997). Mango Peel Fibres with Antioxidant Activity. Zeitschrift Fur Lebensmittel-Untersuchung Und-Forschung A Food Research and Technology. 205: 39-42.
14. Manshor, M.R. et al. (2014). Mechanical, Thermal and Morphological Properties of Durian Skin Fibre Reinforced PLA Biocomposites. Materials and Design. 59: 279-286.
15. Rodriguez, R. et al. (2006). Dietary Fibre from Vegetable Products as Source of Functional Ingredients. Trends in Food Science and Technology. 17: 3-15.
16. Shan, B. et al. (2007). The invitro Antibacterial Activity of Dietary Spice and Medicinal Herb Extracts. International Journal of Food Microbiology. 117: 112-119.
17. Tantipaibulvut, S. et al. (2012). Antibacterial Activity of Some Fruit-Peel Extract. KKU Research Journal. 17(6): 880-894.