การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model

Main Article Content

กนกนุช เหล่าทองสาร

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน    ความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน  Kanok Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model (3) ศึกษาพฤติกรรมคุณลักษณะ  จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model และ     4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 34 คน โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 1 ภาคเรียนที่ 2    ปีการศึกษา 2558 โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One group pretest-posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และ (4) แบบวัด        ความคิดเห็นของนักเรียนของการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (), ค่าที (t-test) แบบ Paired Samples และค่าที (t-test) แบบ One Sample และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


                  ผลการวิจัยพบว่า


  1. ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย E1/E2 เท่ากับ 86.93/81.08       อยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80

  2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้    แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ    มีค่าดัชนีประสิทธิผลคิดเป็นร้อยละ 67.29

  3. คุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้    ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.41) และหลังเรียนภาพรวมอยู่ในระดับดี (= 4.35) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            4.          นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนร่วมกับรูปแบบการสอน Kanok Model กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (= 4.43)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กนกรัตน์ นาครัชตะอมร. การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยรูปแบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. นครปฐม : ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
2. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2550.
3. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. การวัดและการประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2550.
4. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2551.
5. จรรยา เกตุพันธ์. ชุดกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยเน้นการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน. ชลบุรี : วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544.
6. จริยา ทศพร. การพัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. นครปฐม : ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
7. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. “นวัตกรรมการศึกษา” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539.
8. ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, สถาบัน. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ในระหว่างปีการศึกษา 2556-2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.niets.or.th/. (วันที่ค้นข้อมูล : 24 เมษายน 2557).
9.วรรณี พลคง. ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้เกมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. สงขลา : วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2556.
10.ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2551.
11. สุจิตตรา เพียสีนุย. การสร้างชุดการสอน เรื่อง จักรวาล และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เน้นการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้. ชลบุรี : วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยบูรพา, 2548.
12. สุดถนอม ธีระคุณ. การพัฒนาชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ พลังงานไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2555.
13. อรทัย มูลคำ และ สุวิทย์ มูลคำ. การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์, 2544.