การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2558

Main Article Content

ดารณี นวพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2558  โดยเลือกกลุ่มประชากรแบบเจาะจง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา (ปี 5) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว จำนวน 25 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขั้นปฏิบัติการสอนเต็มรูป 1 และ 2 ที่โรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี ระยอง และตราด จำนวน 55 คน รวม 80 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประกอบความเรียง


              ผลการวิจัยพบว่า


              ผู้ใช้หลักสูตรมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2558  โดยรวมอยู่ในระดับ (=4.23, S.D.= .43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรที่ได้พัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน (=4.42, S.D.= .47) รองลงมาคือด้านการวัดประเมินผล (=4.35, S.D.= .50) ด้านอาจารย์ผู้สอน (=4.31, S.D.= .44) ด้านการจัดการเรียนการสอน (=4.20, S.D.= .48) ด้านหลักสูตร (=4.13, S.D.= .44) และด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (=3.94, S.D.= .72) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา. (2558). คู่มือประกันคุณภาพทางการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
2. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2549). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2547-2548. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
3. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2553). มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
4. _______. (2559). ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. หน้า 66-70. กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ท พลัส.
5. สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2553). มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
6. สำนักวิจัยและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
7. อำนวย บุญศรี และเสาวนีย์ เจียมจักร. (2553). การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
8. Punpinij, Sint. (1990). “Role Performance of Sub-district Agricultural Extension Officers in Northeastern Thailand.” Doctoral Dissertation. Department of Agricultural Education and Rural Studies. University of the Philippines Los Banos.