สภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี : กรณีศึกษา สำนักเรียนวัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สายัณห์ วงศ์สุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีของสำนักเรียนวัด      ชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อสภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีของสำนักเรียนวัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ชั้นประโยค 1-2 ถึงชั้นประโยค 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 214 รูป ผู้วิจัยใช้กลุ่มประชากรเป็นหน่วยในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Independent) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA)


         ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีของสำนักเรียนวัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1. ด้านการวัดผลและประเมินผล  2. ด้านผู้สอน  3. ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน  4. ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน 5. ด้านสื่อการเรียนการสอน และ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อสภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีของสำนักเรียนวัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนจำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางบาลี มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการศาสนา. (2534). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

2. กองบาลีสนามหลวง. (2548). การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพฯ : อาทรการพิมพ์.

3. ญาณิศา เพ็ชรสัมฤทธิ์. (2548). สภาพและปัญหาการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

4. ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2539). สื่อการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

5. ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม และวลัยพร ศิริภิรมย์. (2545). แนวทางการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. ประเสริฐ ธรรมโวหาร. (2542). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

8. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

9. พระครูสุตวิสุทธิคุณ พัด. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

10. พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). (2548). หลักการสอนทั่วไป : อบรมบาลีก่อนสอบคณะสงฆ์ภาค 4 ปีที่ 4. ปทุมธานี : บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

11. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2529). การศึกษาของคณะสงฆ์ ปัญหาที่รอทางออก. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

12. มหามกุฏราชวิทยาลัย. ศึกษาพระไตรปิฎก จากหัวข้อธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.tripitaka91.com /1-740-9.html#middle. 3 กรกฎาคม 2561.

13. วาณี ภูเสตว์. (2542). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน. จันทบุรี : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.

14. วิจิตร อาวะกุล. (2547). การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรสยาม.

15. วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2543). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : เสรีการพิมพ์.

16. สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2546). บทเจริญพระพุทธมนต์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยในสังฆราชูปถัมภ์.

17. สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : แสงศิลป์.

18. สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

19. อรพร คัมภีรศาสตร์. (2550). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินพระต้นแบบด้านสื่อการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

20. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.