รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีเป้าหมาย เพื่อสังเคราะห์และพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นของ 3องค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 166 คน ซึ่งปฏิบัติงานในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 10 แห่ง โดยการสุ่มด้วยวิธีการ G*power เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ตัวเลือก เกี่ยวกับ 1) 11 ตัวแปรสังเกตได้ของ 3 ปัจจัย ซึ่งประกอบด้วยภาวะผู้นำผู้บริหารวิทยาลัย วัฒนธรรมองค์การ และบรรยากาศองค์การ และ 2) 4 ตัวแปรสังเกตได้ของประสิทธิผลการบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้น (LISREL Program) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า บรรยากาศองค์การ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิทยาลัย แต่วัฒนธรรมองค์การและภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัย มีความสัมพันธ์โดยอ้อมกับประสิทธิผลการบริหารงานวิทยาลัย วัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิทยาลัยผ่านภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยและบรรยากาศองค์การ โดยภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิทยาลัยผ่านเฉพาะบรรยากาศองค์การเท่านั้น
Article Details
References
2. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2556). การประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
3. จารุวัฒน์ ต่ายเทศ. (2557). บรรยากาศองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์กร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 10(เมษายน-มิถุนายน)
4. ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. ซากี สะมะแอ. (2550). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
6. เทียนชัย ไชยเศรษฐ. (2554). วัฒนธรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กเปอเน็ต.
7. ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
8. นเรศรี แสนมนตรี. (2553). บรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
9. นวลปรางค์ ภาคสาร. (2559). อิทธิพลของบรรยากาศองค์กรและความยุติธรรมขององค์กรที่มีต่อประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร.
10. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
11. พัชราภรณ์ มาสุวัตร์. (2557). รูปแบบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
12. รังสรรค์ อ้วนวิจิตร. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47ก (24 สิงหาคม)
14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน)
15. รุ่งชีวา สุขศรี. (2556). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลตอประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวมระดับมัธยมศึกษา. วารสารสังคมศาสตรวิจัย. 4(กรกฎาคม-ธันวาคม)
16. วิมล ชาตะมีนา, วชิรา วราศรัย และรุ่งทิพย์ จินดาพล. (2551). ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการของ อบจ.แพร่ และของ อบจ.พิษณุโลก. TRF Policy Brief.
17. สมุทร ชำนาญ. (2555). การบริหารสถานศึกษาท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
18. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555). นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่สากล พ.ศ. 2555-2569. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
19. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
20. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปี 2551. กรุงเทพมหานคร: เพลิน สตูดิโอ.
21. สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2558). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2558-2560). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
22. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานทะเบียน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
23. สุรัสวดี หุ่นพยนต์, อำพา แก้วกำกง และ วทัญญู ใจบริสุทธิ์. (2556). การบริหารจัดการศึกษาภายใต้แนวคิดการกระจายอำนาจ: ศึกษาเปรียบเทียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยและเกาหลีใต้ (ระยะที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
24. สุวรรณา สุ่มเนียม. (2559). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของครูอาชีวศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10(2): 54-62.
25. Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). The implications of transactional and transformational leadership for individual, team, and organizational development. Research in Organizational Change and Development.
26. Brown, W. B., & Moberg, D. J. (1980). Organizational theory and management: A macro approach. New York: John Wiley & Sons.
27. Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.
28. Cameron, K. S. & Ettington, D. R. (1988). The conceptual foundations of organizational culture. In Higher Education: Handbook of Theory and Research. John Smart, eds. New York: Agathon.
29. Daft, R. L. (2002). Organization theory and design. 8th ed. Cincinnati, OH: South-Western College.
30. Denison, D. R. (1990). Corporate culture and organization effectiveness. New York: John Wiley and Sons.
31. Faul, F., Erdfelder, E., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavioral Research Method.
32. Hellriegel, D., Slocum, J. W., & Woodman, R. W. (2001). Organizational Behavior. 9th ed. Australia: Thomson/South-Western.
33. Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Education administration: Theory research and practice.4th ed. New York: McGraw-Hill.
34. Knezevich, S. J. (1984). Administration of public education. 4th ed. New York: Harper and Row.
35. Levine, D. U., & Lezotte, L. W. (1990). Unusually effective schools: A review and analysis of research and practice. Madison, WI: The National Center for Effective Schools Research and Development.
36. Slocum, J. W., & Hellriegel, D. (2011). Principles of organizational behavior. 13th ed. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.
37. Smircich, L. (1983). Concepts of culture and organizational analysis. Administrative Science Quarterly.
38. Steers, R. M., & Porter, L. W. (1977). Motivation and work behavior. New York: McGraw Hill.
39. Voorhis, V. F. L., & Sheldon, S. B. (2004). Partnership programs in U.S. schools: Their development and relationship to family involvement outcomes. School Effectiveness and School Improvement.