ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับความภักดีของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม : กรณีศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พิมพ์นิภา รัตนจันทร์
ผุสดี นิลสมัคร
ณพรรณ สินธุศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับความภักดีของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม : กรณีศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดนครราชสีมาโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลวิจัย พบว่าส่วนประสมการตลาดโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความภักดีของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง นอกจากนี้พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความภักดีของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมรายด้าน คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงอุตสาหกรรม. (30 พฤศจิกายน 2558). กระทรวงอุตสาหกรรมจัดเทศกาลไหมไทยที่โคราช หวังยกระดับไทยสู่ตลาดโลก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http : //www.Industry.go.th/center_mng_gad. [30 พฤศจิกายน 2558].

2. จุฑามาศ สนธิ. (กันยายน-ธันวาคม 2556). “ส่วนประสมทางการตลาดและความภักดีของผู้ซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากตลาดนัดในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี.

3. ทัศนา หงษ์มา. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า OTOP ที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

4. นิภาพร ปาวพรม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับความจงรักภักดีของลูกค้า แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

5. บัวรัตน์ ศรีนิลและคณะ. (2542). รายงานโครงการประมวลสถานภาพวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผ้าทอพื้นบ้านไทยให้ได้เปรียบในเชิงแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

6. ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ท้อป.

7. ปิยมาศ ฤทธิเดช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความจงรักภักดีในตราสินค้านารายาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

8. รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธรและคณะ. (2558). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าผ้ายทอมือของผู้บริโภคที่เลือกซื้อจากร้านผ้าฝ้ายทอมือในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

9. สุมินทร เบ้าธรรม. (2558). วิจัยทางการบัญชี. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

10. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา. (20 พฤศจิกายน 2559). ข้อมูลจังหวัดนครราชีมา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://pr.prd.go.th/nakhonratchasima/main.php?filename=sammary. [20 พฤศจิกายน 2559].

11. หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. (24 พฤศจิกายน 2558). ประวัติของผลิตภัณฑ์โอทอป. [ออนไลน์]. จาก แหล่งที่มา : http://www.thaitambon.com. [24 พฤศจิกายน 2558].

12. ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

13. Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika.

14. Gronroos. (2000). Service Management and Marketing: A Customer Relationship Approach Wiley. Chichester: Goldberg.

15. Hair, Joseph F., Black, William C., Babin, Barry., Anderson, Rolph E., and Tatham, Ronald L. (2006). Multivariate Data Analysis, 6th Ed. New Jersey: Pearson Education.

16. Oliver, R. L. (1999). Whence Consumer Loyally. Journal of Marketing,