แรงจูงใจในการพัฒนาตนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่องแรงจูงใจในการพัฒนาตนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการพัฒนาตนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการพัฒนาตนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวนทั้งสิ้น 143 คน ซึ่งได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญเพื่อทำการแจกแบบสอบถามตามจำนวนที่ได้ทำการสุ่มไว้ให้แก่บุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการพัฒนาตนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ตามกรอบที่กำหนดไว้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่า t – test และ F - test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบ One - Way ANOVA โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.05 หากพบความแตกต่างที่มีค่านัยสำคัญดังกล่าวจะทำการวิเคราะห์เป็นรายคู่โดยวิธีการ (LSD)
พบว่า แรงจูงใจในการพัฒนาตนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย พบว่า ด้านความสำเร็จในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านสภาพการทำงาน รองลงมาคือ ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านลักษณะการได้รับการยอมรับนับถือและน้อยที่สุดคือ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ตามลำดับและผลการเปรียบเทียบพบว่าแรงจูงใจในการพัฒนาตนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยตำแหน่งงานและภูมิลำเนา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 6 ด้าน
Article Details
References
2. ขจีรัตน์ เจตนานุรักษ์. (2555). แรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. ขันทอง เสือด้วง. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตราด. งานนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาการการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.
4. ระบบข้อมูลกฎหมาย. (2537). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เป็นปีที่ 49 ในรัชกาลปัจจุบัน.
5. เทียนชัย ธรรมศรี. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานร้าน Time Less จันทบุรี. ปัญหาพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. ธนารี ริมพงษ์พิศาล. (2555). แรงจูงใจในที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของลูกจ้างเหมาแรงงานของการประปานครหลวงสำนักงานใหญ่. งานนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
7. นิมิตร กลิ่นดอกแก้ว. (2554). แรงจูงใจ. วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559, จาก GotoKnow: https:// www.gotoknow.org/posts/300053.
8. ภินันท์ รัชตาจ้าย. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน. ปัญหาพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
9. วลัยพร สันตานนท์. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
10. สมพร ศรีประเสริฐ. (2555) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลจังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
11. อัซรี หล่อเหลี่ยม. (2555). แรงจูงใจของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ในการตัดสินใจเข้าทำงานองค์กรของรัฐ กรณีศึกษาอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี.
12. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. ข้อมูลกองการเจ้าหน้าที่. (2561). ข้อมูลทั่วไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. วันที่สืบค้นข้อมูล 5 มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.sakaeopao.go.th/home/.