แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถบรรทุก ในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้าจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

อุทุมพร อยู่สุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกของพนักงานขับรถบรรทุกสินค้า 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถบรรทุกสินค้า 3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกของพนักงานขับรถบรรทุกสินค้า 4) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถบรรทุกสินค้า กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานขับรถขนส่งสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 398 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และ LSD ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความคิดเห็นต่อปัจจัยแรงจูงใจภายในของพนักงานขับรถบรรทุกในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้าจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\chi= 4.10) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อโดยผลสำเร็จในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.38 

  2. ความคิดเห็นต่อปัจจัยแรงจูงใจภายนอกของพนักงานขับรถบรรทุกในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้าจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\chi= 4.02) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อโดย เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.31 

  3. ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานขับรถบรรทุกในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้าจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\chi= 4.17) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อโดย การติดต่อประสานงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.25

          4. เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์มีผลต่อปัจจัยแรงจูงใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถบรรทุกในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้าจดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการวิจัยพบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กันตยา เพิ่มผล. (2544). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ราชภัฎสวนดุสิต.

2. กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. กัญญาภรณ์ ศรีสุข. (2552). ปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4. จารุวรรณ สาลิกา, (2551), การเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานขับรถโดยใช้กลยุทธ์แรงจูงใจร่วมกัน. งานนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

5. ทิพาวดี เทฆสวรรค์. (2538). การส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

6. ธงชัย สันติวงษ์. (2546). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.

7. นวพรรษ จำรัสศรี. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัท เอ็ม แอนด์ เอ กรุ๊ป. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

8. ภูวนัย เกษบุญชู, (2550, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองทัพเรือ: ศึกษากรณีข้าราชการสังกัดกองเรือภาคที่1. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

9. รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด.

10. รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด.

11. วิเชียร วิทยอุดม, (2547), พฤติกรรมองค์กร, กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์ จำกัด.

12. วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น.กรุ๊ป.

13. สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ (พิมพฺครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

14. สุชาติ อยู่สุข. (2547). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

15. ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. (2540). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

16. สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

17. อัมรินทร์ พัฒทวี. (2552). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขคุณภาพชีวิตของพนักงานขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ กรณีศึกษา พนักงานขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ในจังหวัดสระบุรี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

18. Greenberg, J. & Baron, R.A. (1997). Behavior in organizations (6thed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.

19. Ryan, T. A. & Smith, P. C. (1954). Principle of industrial psychology. New York: The Ronald Press Company.

20. Schermerhorn, John R., Hunt, James G., & Osborn, Richard N. (2000). Organizational behavior (7th ed.). New York: John Wiley and Sons.