กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูในชั้นเรียน ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน

Main Article Content

สุเทพ แปลงทับ
คมพล พันธ์ยาง
อาทิตยา เพิ่มสุข

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4 ให้สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  2) ศึกษาพฤติกรรมการสอนของครู      ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน 3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน 4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 14 คน ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 คน สังกัดโรงเรียนบ้านเกาะแก้ว ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การบันทึกวีดิทัศน์ แบบสัมภาษณ์ครู และนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 


              ผลการวิจัยปรากฏว่า


  1. ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4 สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการประเมิน เพื่อพัฒนาผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละกิจกรรม มี 8 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) ระบุเกณฑ์ความสำเร็จในการเรียนรู้ 3) ระบุหลักฐานจากการเรียนรู้และตีความหลักฐาน 4) ระบุความแตกต่างระหว่างสถานะปัจจุบันของผู้เรียนกับเป้าหมายการเรียนรู้ 5) ให้ข้อมูลป้อนกลับ 6) ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะกับ  ความต้องการของผู้เรียนและสรุปผลการเรียนรู้ใหม่ 7) ปิดช่องว่าง 8) ขั้นความสำเร็จในการเรียนรู้

  2. ครูผู้สอนแสดงพฤติกรรมการสอนที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่ชัดเจน ใน 12 ประเด็น

  3. นักเรียนแสดงพฤติกรรมในกิจกรรมการเรียนรู้ ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่ชัดเจนใน 8 ประเด็น

  4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีคะแนนรวมคิดเป็นร้อยละ 81.37 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนรวม คิดเป็นร้อยละ 85.11

  5. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. โชติมา หนูพริก และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2553). การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.

2. ณัจยา หนุนภักดี. (2559). ทักษะคนไทยในศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในการพัฒนา. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 53(1) (มกราคม)

3. บรรดล สุขปิติ. (2553). หลักสูตรและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

4. ญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

5. พรทิพย์ ไชยโส และคณะ. (2556). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการประเมินการเรียนรู้ของนิสิตครู. วารสารวิจัยการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

6. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ปฎิรูปการเรียนรู้ : ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน. กรุงเทพมหานคร: พี เอ ลีฟวิ่ง.

7. วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

8. วิจารณ์ พานิช. (2557). การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สานอักษร.

9. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

10. สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2551). 20 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

11. เลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (พ.ศ.2557-2560) สะท้อนปัญหาและทางออก ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่จำกัด.

12. องอาจ นัยพัฒน์. (2553). การวัดประเมินในชั้นเรียน : วิวัฒนาการและแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา.

13. Conner, M. L. (2004). Creating a learning culture. United Kingdom: Cambridge University Press.

14. Di Lorio, C. K. (2005). Measurement in health behavior: methods for research and education. USA: Jossey-Bass.

15. Hattie, J., & Timperley, H. (2007). The power of feedback. Review of Educational Research.

16. Heritage, M. (2010). Formative assessment: Making it happen in the Classroom. alifornia: A SAGE Company.

17. Mackay, A. (2007). Motivation, ability and confidence building in people. USA: Elsevier.

18. Stiggins, R.J. (2005). Student-involved Assessment for learning. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

19. Susan M. Brookhart, Connie M. Moss, Beverly A. Long. (2009). “Promoting Student Ownership of Learning Through High-Impact Formative Assessment Practices. Journal of Multi Disciplinary Evaluation.

20. Wiliam, D. (2008). Improving learning in science using formative assessment. In J. Coffey, R.Douglas & C. Stearns (Eds.), Assessing Science Learning