การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ดิลก คำคูเมือง
ธร สุนทรายุทธ
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) ศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหาร 2) ศึกษาการบริหารสถานศึกษา และ     3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จำนวน 86 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.27-0.84 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.34-0.77 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนครูร้อยละ 91.9 และจำนวนบุคลากร     ร้อยละ 8.1 2) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยรวมพบว่า    มีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านอำนาจเชี่ยวชาญ (X4) อำนาจตามกฎหมาย (X3) และด้านอำนาจให้รางวัล (X1) สามารถร่วมกันทำนายการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 63.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กัลยาณี บุตรดีวงศ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและการบริหาร โรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด สระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

2. จักรพันธ์ ชูกลิ่น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยบูรพา.

3. จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.

4. ทับทิม เอี่ยมแสง. (2554). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

5. ธีระวัธน์ สิงหบุตร. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทและการมีส่วนร่วมในภาระงานการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา เขตตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ 9. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

6. ธร สุนทรายุทธ. (2556). ทฤษฎีองค์กรและพฤติกรรม: หลักการ ทฤษฎี การวิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

7. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. ครั้งที่พิมพ์ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

8. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

9. ปาริฉัตตก์ พิศิฏฐศักดิ์. (2551). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

10. ปินิดา พุ่มแย้ม. (2549). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

11. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับที่ 116, ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม): 12.

12. พัชรพล ปานณรงค์. (2551). การบริหารคุณภาพการศึกษาโดยรวมกับผลการดำเนินงานในโรงเรียนเทศบาลและเมืองพัทยาในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

13. พิกุล ดีพิจารณ์. (2548). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนในเขตภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

14. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

15. ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี จำกัด.

16. ศิริพงษ์ เชื้อดี. (2552). การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

17. สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (ม.ป.ป.). หลักบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. เอกสารประกอบการสอน.

18. สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ.

19. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

20. สมุทร ชำนาญ. (2556). ผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และปฏิบัติ. ระยอง: พี.เอส.การพิมพ์.

21. อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

22. อุมาวดี เหล่าอรรคะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

23. อำนวย ทองโปร่ง. (2555). กระบวนทัศน์ทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

24. Barnard, C. I. (1979). The functions of executive. Cambridge: Harvard University Press.

25. Blau, P. and Scott, W. (1962). Formal Organizations: A Comparative Approach. San Francisco: Chandler.

26. Fernch, J. R. P., & Reven, B. H. (1968). The bases of power. In D. Cartwright, & Arbor (Eds.), Studies powers (pp. 1402-1404). New York: McGraw Hill.

27. Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psycholgical Measurement.