การศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีการใช้บริการธุรกิจสปา ในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ศศิประภา พรหมทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีการใช้บริการธุรกิจสปา ในจังหวัดอุดรธานีมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษา 1)เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของธุรกิจสปาในจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาระดับความจงรักภักดีภักดีการให้บริการธุรกิจสปาในจังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อระดับความจงรักภักดีการให้บริการธุรกิจ สปาในจังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล  เป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจสปาในจังหวัดอุดรธานี ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จำนวน 400 ราย มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ด้วยวิธีวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ปรากฏผลได้ค่า 0.94 และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้วิธีการหาค่าความถี่ ,ค่าร้อยละ , ค่าเฉลี่ย ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้  t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสมมติฐาน โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเปียร์สัน


                ผลการวิจัยพบว่า  1) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26 - 35 ปี  ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 15,000 บาท มีความถี่ในการใช้บริการเฉลี่ยต่อเดือน  1-2 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการแต่ละครั้ง    501-1,000 บาท 2) ระดับคุณภาพการให้บริการโดยภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพการให้บริการมาก (= 3.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านกระบวนการให้บริการมีค่าเฉลี่ยที่มากที่สุด  รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย, ด้านส่งเสริมการตลาด  ,  ด้านราคา,  ด้านสิ่งแวดล้อมทางภายภาพ และด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ  และด้านบุคลากร ทุกด้าน อยู่ในอยู่ในระดับคุณภาพการให้บริการมาก 3) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีการใช้บริการสปา โดยภาพรวม มีระดับความจงรักภักดีมาก 4) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อระดับความจงรักภักดีการใช้บริการสปา เพศ, กลุ่มอายุต่างๆ,ระดับการศึกษาต่างๆ,สถานภาพ และอาชีพ มีปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อระดับความจงรักภักดีการใช้บริการปาแตกต่างกัน 5) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคุณภาพการให้บริการ ส่งผลต่อระดับความจงรักภักดีการใช้บริการธุรกิจสปา โดยภาพรวม พบว่า ระดับคุณภาพการให้บริการ ส่งผลต่อระดับความจงรักภักดีการใช้บริการธุรกิจสปามีความสัมพันธ์กันต่ำมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับต่ำมากทั้ง 7 ด้าน โดยเรียงตามลำดับความสัมพันธ์จากน้อยไปหามาก คือ ) ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านสิ่งแวดล้อมทางภายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ และด้านราคา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. (2558). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรแยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558. [ออนไลน์]. สืบค้น1 มีนาคม 2559 จากhttp://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData.php.

2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2557). ธุรกิจบริการ: สปาและนวดไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการค้าบริการและการลงทุน กระทรวงพาณิชย์.

3. กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.(2558).ข้อมูลการส่งออกธุรกิจสปาไทย.กรุงเทพฯ: สำนักการค้าบริการและการลงทุน กระทรวงพาณิชย์.

4. กมลรัตน์โรจน์เรืองรัตน์. (2550). ปัจจยัที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟตามร้านกาแฟพรีเมี่ยมบนถนน สีลมของผบู้ริโภคกลุ่มวัยทำงาน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

5. กรานต์จนรักษ์ อุทัยไกรรักษ์.(2547).พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อสิน ค้าจากธุรกิจสปาในจังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6. ฉัตยาพร เสมอใจ. (2551). การจัดการและการตลาดบริการ (Service marketing and management).กรุงเทพฯ : ซี เอ็ดยูเคชั่น.

7. ธัญพร จันทร์หนู. (2554). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพในเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.

8. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2558). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์

9. นภารัตน์ ศรีละพันธ์. (2554). เขตการค้าเสรีอาเซียนไทย–จีน : ธุรกิจสปา / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสปาเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

10. ไพโรจน์ สมศรี. (2553). การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บริการสปาในเขตอำเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรีของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับผู้อาศัยในท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

11. พากภูมิ พร้อมไวพล. (2551). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า iPod ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม.
(การจัดการ ).กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

12. วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2543). คุณภาพในการบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประชาชนจํากัด, 2546.

13. วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์.(2547). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน .

14. วิภาพร มหาชัย.(2544).พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเลือกใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

15. ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ.(2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ธรรมสาร.

16.ศิริวรรณ เสรีรัตน์.(2552). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาดและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ :ธีระฟิ ล์ม และไซเท็กซ์.

17. ศรีสุดา ชัยชะนะ.(2546). “กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการสปาในอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.”การค้นคว้าแบบอิสระ, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

18. ศุภกร เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดอกหญ้า.

19. ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์.(2547).ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจสปา ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

20. เสรี วงษ์วณฑา. การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์,2542.

21. สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( 2549). ธุรกิจสปา.สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

22. สุชาวลี สุทธิคนึง.(2542).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคชาวไทยในการเลือกใช้บริการนวดแผนโบราณ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

23. สุธีราภรณ์ อันติมานนท์. (2553). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการให้บริการภูเก็ตพรรณนาราสปา จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

24. อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). กลยุทธ์การตลาด(พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

25. Kotler, Philip and Gary Armstrong. (1996). Principles of Marketing (8th ed).Prentice-Hall, Inc.

26.Kotler, Philip. (2000). Marketing Management (The Millennium edition). Upper Saddle River, NJ:PersonPrentiec Hall.

27. Shiffman Leon G.; & Leslie Lazar Kanuk. (1994). Consumer Behavior. 5th ed. New Jersey:Prentice-Hall, Inc.