การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว สำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา

Main Article Content

กาญจนา ดิษฐบรรจง
อนุชิตร แท้สูงเนิน
นภากร บุญเส็ง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อวีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว เรื่องการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว สำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาทักษะและการสอนกรีฑา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยทำการเก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง โดยใช้เวลาทดลองครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อวีดิทัศน์ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาทักษะการวิ่งข้ามรั้ว 3) แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อวีดิทัศน์เรื่องทักษะการวิ่งข้ามรั้ว 4) สื่อวีดิทัศน์เรื่องทักษะการวิ่งข้ามรั้ว 5) แบบทดสอบความรู้เรื่องทักษะการวิ่งข้ามรั้ว 6) แบบประเมินการเรียนรู้ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว ผลการวิจัย พบว่า 1) การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพสื่อวีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว พบว่า สื่อวีดิทัศน์มีค่า E1/E2 เท่ากับ 81.88/82.08 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อ วีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้ว วิชาทักษะและการสอนกรีฑา พบว่า มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ทักษะการวิ่งข้ามรั้วที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กาญจนา ตุ่นคาแดง. (2554). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การสร้างงานสามมิติ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1.

2. กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. ขจรศักดิ์ สิงห์ฆะจักร์. (2551). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การเรียนการสอนเทคนิคทางด้านจุลชีววิทยาเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4. จันตรา ธรรมแพทย์. (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ราชภัฎจันทรเกษม.

5. ชลิต ลิ้มพระคุณ. (2556). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่องการซ่อมแซมเสื้อผ้าเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1.

6. ณัฐเขต สัจจะมโน. (2554). การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ เรื่อง การจัดองค์ประกอบภาพถ่ายสำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

7. ประภาส เทพทอง. (2554). การบริหารและจัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Moodle. Open Learning Open the World. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย.

8. ปิยณัฐ ศรีชะตา. (2556). การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาระหว่างการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยครู กับการใช้สื่อวีดิทัศน์ที่มีต่อทักษะกีฬารักบี้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา หลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. พรสวรรค์ สระภักดิ์. (2554). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว. สุพรรณบุรี: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี.

10. ไพฑูรย์ กลั่นไพฑูรย์. (2551). การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์วิชาวาดเส้นเรื่อง ทักษะพื้นฐานการวาดเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

11. สุขญา บุญพิพัฒน์. (2556). การสร้างสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง ประโยคสนทนา 3 ภาษา ในร้านสะดวกซื้อ สำหรับการจัดการเรียนการสอนทางไกล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1.
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1.

12. อนุชิตร แท้สูงเนิน. (2555). การพัฒนาบทเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชายิมนาสติก 1.คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี.

13. อัมพาพร นพรัตน์. (2558). ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา ปีการศึกษา 2556. ปริญญาศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

14. อำนวย บุญเส็ง. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชากรีฑา 1. สุพรรณบุรี: สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตสุพรรณบุรี.

15. อำนวย บุญเส็ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี, (2560, 8 ,มกราคม). สัมภาษณ์.

16. เอกเทศ แสงลับ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. 2552: 1.

17. เอกวิทย์ แสวงผล, อาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพฯ, (2560, 8 มกราคม). สัมภาษณ์.

18. International Amateur Athletic Federation. (2000). Level II Sprint & Hurdles Events. (n.p.).