การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคันนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

สิริกุล รัตนมณี
เอกวิทย์ โทปุรินทร์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคัน 2)  วิเคราะห์ปัจจัยการออกกลางคันที่ใช้จำแนกสภาพนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) หาแนวทางแก้ปัญหาการออกกลางคันนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพากลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคต้น ปีการศึกษา 2559 จำนวน 258 คน แบ่งเป็นสภาพรอพินิจ จำนวน 151 คน และออกกลางคัน จำนวน 107 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power และ วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคัน และแบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวทางการแก้ไขปัญหา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยด้วยวิธีขั้นตอน และการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้


ผลการศึกษา พบว่า


  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันระดับมากที่สุด ได้แก่ ภูมิหลังครอบครัว รองลงมา คือ การกำหนดเป้าหมายในการเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน ความยากและซับซ้อนของหลักสูตร และการบูรณาการทางวิชาการและสังคม และแนวทางแก้ไขปัญหา มีดังนี้ 1)  การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกนิสิตที่เหมาะสม 2)  การสอนเสริมปรับพื้นฐาน  3)  ใช้ระบบพี่เลี้ยง  4)  การสร้างแรงบันดาลใจ  5)  การเสวนาที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และนิสิต 6) การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ที่ปรึกษา 7) การให้ทุน 8) ให้งานพิเศษเพิ่มรายได้ 9) สำรวจตรวจสอบระบบสนับสนุนการเรียนรู้ และ

10) จัดพื้นที่กิจกรรมกลุ่ม


  1. ตัวแปรจำแนกสภาพนิสิต ได้แก่ ภูมิหลังครอบครัว และการบูรณาการทางวิชาการและสังคม สมการจำแนกสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 10.63 มีสมการในคะแนนมาตรฐาน คือ

ZY = .645 Zภูมิหลังครอบครัว + .605 Zการบูรณาการทางวิชาการและสังคม


  1. แนวทางแก้ไขปัญหาการออกกลางคันที่ควรดำเนินการและเป็นแนวทางที่กระทบต่อแนวทางอื่น ๆ คือ

การสอนเสริมปรับพื้น ซึ่งกระทบกับแนวทาง 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การสำรวจตรวจสอบระบบสนับสนุนการเรียนรู้


2) การจัดพื้นที่กิจกรรมกลุ่ม และ 3) การใช้ระบบพี่เลี้ยง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. โกมล จันทวงษ์. (2558). ปัจจัยสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5, 127-141.

2. บุรทิน ขำภิรัฐ. (2556). รายงานวิจัยสถาบันฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ยุทธศาสตร์และระบบบริหารเพื่อการธำรงนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

3. นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล และรดา สมเขื่อน. (2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้จากการปรับพื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ.

4. สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5. สุวิมล อังควานิช. (2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 7(พิเศษ), 1-18.

6. อภิชาติ เลนะนันท์. (2553). โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

7. Ivankova, N.V. & Stick, S.L. (2007). Students’ persistence in a distributed doctoral program in educational leadership in higher education: A mixed methods study. Research in Higher Education, 48(1), 93-135.

8. Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (1996). A beginner's guide to structural equation modeling. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

9. Tinto,V. (1982). Limits of theory and practice in student attrition. Journal of Higher Education, 53(6), 687–700.