การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อพัฒนา ความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีศึกษาชุมชนบางชัน

Main Article Content

นภา จันทร์ตรี
พงศธร จันทร์ตรี

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของประชาชน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้  คือ แบบสอบถามที่ครอบคลุมตัวแปรการมีส่วนร่วม 4 ด้าน คือ1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ   2. การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 3. การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินการ 4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ส่วนการทดสอบสมมติฐาน  ใช้การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              ผลการวิจัย พบว่า  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ลำดับที่ 1 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินการอยู่ในระดับมาก รองลงมาลำดับที่ 2 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อย ลำดับที่ 3 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการประเมินผลอยู่ในระดับน้อย และลำดับที่ 4 ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และการเข้าร่วมอบรมที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา สถานภาพ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จันทบูรดอทเน็ต. หมู่บ้านไร้แผ่นดินบางชัน. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. จาก : http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=item&layout=item&id=326&Itemid=817

2. ไกรสร เพ็งสกุล. (2551). การมีสวนรวมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ : ศึกษา กรณีลุมน้ำสาขาคลองปะเหลียน จังหวัดตรัง. สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม.

3. และสิ่งแวดล้อม.ไทยรัฐ. (2557). บางชันโมเดลหาทางออกแก้หมู่บ้านไร้แผ่นดิน. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. จาก : http://www.thairath.co.th/content/444334.

4. บุญทัน โพลิกา. (2549). การมีส่วนร่วมของราษฎร์ในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าประแส- พังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5. ภัทราวรรณ สนั่นไทย. (2548). การมีส่วนร่วมของชาวประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง : บริเวณปากแม่น้ำบางประกง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

6. เรวัตร กนกวิรุฬห์. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

7. สุวรรณี คงทอง. (2536). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนในท้องที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

8. สุวิมล ติรกานนท์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. สำราญ รักชาติ. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนปากน้ำเวฬุ จังหวัด จันทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

10. องค์การบริหารส่วนตำบลบางชัน. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2560-2563). สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. จาก :
http://www.bangchan.go.th/attachments/323_%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97.pdf.

11. Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.