การวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณ ระหว่างนักเรียนชาย กับนักเรียนหญิงของการทดสอบระดับชาติ

Main Article Content

สุภาภรณ์ อ้นที
นลินี ณ นคร
สังวรณ์ งัดกระโทก

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงของการทดสอบระดับชาติ กลุ่มประชากรคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 464,532 คน เป็นเพศชาย 224,615 คน เป็นเพศหญิง 239,917 คน เครื่องมือและข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย  คือ ข้อสอบ และผลการสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557   จำนวน 27 ข้อ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน หาค่าดัชนีการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก ตรวจสอบขนาดอิทธิพลการทำหน้าที่ต่างกัน และ วิเคราะห์สาเหตุของข้อสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงของการทดสอบระดับชาติ จำนวน 27 ข้อ ด้วยวิธีโลจิสติก พบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันแบบเอกรูป จำนวน 5 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 18.52   และข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูป จำนวน 22 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 81.48 ซึ่งขนาดอิทธิพลการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่า ขนาดของการทำหน้าที่ต่างกันขนาดเล็กมาก (∆R2 < 0.13) ทั้ง 27 ข้อ  คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งแสดงว่าข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณฉบับนี้มีคุณภาพด้านความตรงในประเด็นด้านความยุติธรรมต่อผู้สอบที่มีเพศแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. 2552. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงาคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

2. ทองอยู่ สาระ. 2543. การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบและการจำแนกผิดพลาดในการตรวจสอบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันแบบสม่ำเสมอระหว่างวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลและวิธีถดถอยโลจิสติก. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

3. ธเกียรติกมล ทองงอก. 2554. ประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในวิธีถดถอยโลจิสติกโดย ใช้เกณฑ์ขนาดอิทธิพล 2 วิธี สำหรับข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจในคะแนนแบบทวิภาค : ข้อมูลจำลองและข้อมูลเชิงประจักษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ค.ด.(การวัดและประเมินผลการศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. รัชรินทร์ มุคดา. 2540. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างแมนเทล-แฮนเซนส์เซลกับวิธีถดถอยโลจิสติกในการ ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบแบบอเนกรูป ในกรณีการจัดกลุ่มความสามารถ ค่าความยาก ง่ายของข้อสอบ และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ค.ด.(การวัดและประเมินผลการศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5. วลีมาศ แซ่อึ้ง. 2543. การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบ และอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ในกาตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบหลายรูปแบบ ระหว่างวิธีซิปเทสท์ปรับใหม่ วิธีซิปเทสท์ วิธีแมนเทล – แฮนเซล และวิธีโลจิสติก. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (การวัดและการประเมินการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. ศิริชัย กาญจนวาสี. 2555. ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

7. สุกัญญา ทองนาค. 2549. การวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบเข้าศึกษาต่อประเภทโควตา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญาญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

8. สุธาทิพย์ ตรีสิน และปิยะทิพย์ ประดุจพรม. 2560. การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ในแบบทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี IRT – LR. วิทยาการ วิจัยและวิทยาการปัญญา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

9. สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2557. คู่มือการจัดสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2557.

10. อรินทร์ อ่วมถนอม. 2549. การเปรียบเทียบวิธีโพลี-ซิปเทสท์ วิธีการถดถอยโลจิสติกแบบจัดอันดับและวิธีการถดถอยโลจิสติกแบบจัดอันดับหลายมิติ ในการตรวจสอบการทำหน้าที่เบี่ยงเบนของข้อสอบที่วัดความสามารถหลายมิติและให้คะแนนหลายค่า. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

11. Gierl, M.J.; Gotzmann, A.; & Boughton, K.A. (2004). Performance of SIBTEST when the percentage of DIF Item is large. Applied Measurement in Education. 17(3):241-264

12. Gomez-Benito, J.Hidalgo, M.D. and Padilla, J.L. 2009. Efficacy of Effect Size Measurement in Logistic Regression An Application for Detecting DIF. Methodology : European Journal of Research Methods for the Behavioral and Social Sciences.Vol 5(1),18-25

13. Narayanan, P.,& Swaminathan, H. 1996. Identification of items that show nonuniform DIF. Applied Psychological Measurement. 20(3):257-274

14. Rogers, H. J., & Swaminathan, H. 1993. A comparison of logistic regression and Mantel-Haenszel procedures for detecting differential item functioning. Applied Psychological Measurement, 17(2), 105-116

15. Swaminathan, H., & Rogers, H. J. 1990. Detecting differential item functioning using logistic regression procedures. Journal of Educational Measurement, 27(4):361-370.

16. Zumbo, B. D. 1999. A handbook of the theory and methods of differential item functioning (DIF) :Logistic regression modeling as a unitary framework for binary and Likert-type (ordinal) item score. Ottawa, Ontario, Canada: Directorate of Human resources Research and Evaluation, Department National Defense.

17. Zumbo, B.D., &Thomas, D.R. 1997. A measure of effect size for a model-based approach for studying DIF. Prince George, Canada: University of Northem British Columbia, Edgeworht Laboratory for Quantitative Behavioral Science.