แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

จุลลดา จุลเสวก
วรันธร อรรคปทุม

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 217 คนโดยการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า


  1. ด้านเหตุผลส่วนตัวในการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาชายสูงกว่านักศึกษาหญิง

  2. เมื่อจำแนกตามแผนการเรียนที่จบการศึกษามา พบว่า แรงจูงใจด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. เมื่อจำแนกตามแผนการเรียนที่จบการศึกษามาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ พบว่า นักศึกษาที่จบการศึกษาจากแผนการเรียนวิทย์-คณิตและแผนการเรียนอื่นๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). เลือกเรียนเป็นครู. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/74954. 2558.

2. กิตติ ตันวีระ. (2545). ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาโยธา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

3. จันทิมา จันทรศักดิ์. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตบพิตรพิมุขกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

4. วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : www2.tsu.ac.th. 2558.

5. สนธยา แพ่งศรีสาร. (2544). การศึกษาเหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครสวรรค์. ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

6. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). อนุสารอุดมศึกษา. 36 (390) ธันวาคม 2553.

7. อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ใยไหม เอดดิเคท.

8. Boshier, Roger W. (1971). Motivation Orientations of Adult Education Participants: AFactor Analytic Exploration of Houle’s Typology Adult Education. 21 (1).