การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีบทปีทาโกรัส ที่เน้นการให้เหตุผลแบบอุปนัย และนิรนัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา

Main Article Content

มณีรัตน์ หงษ์โสภา
สมวงษ์ แปลงประสพโชค
พรสิน สุภวาลย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการให้เหตุผล และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีบทปีทาโกรัส ที่เน้นการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผล และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีบทปีทาโกรัส เน้นการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย สถิตที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีบทปีทาโกรัส ที่เน้นการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.477 2) ความสามารถในการให้เหตุผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีบท    ปีทาโกรัส ที่เน้นการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.596 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีบทปีทาโกรัส ที่เน้นการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย สรุปได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ธิติมา อุดมพรมนตรี. (2555). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 5. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

2. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น.

3. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร.

4. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. 2558. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

5. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. พิสุทธิ์ศิลป์ โพธิอะ. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ โดยใช้สถานการณ์การณ์จำลอง เรื่องทฤษฎี บทปีทาโกรัส ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สาร นิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

7. สถาบันส่งเสริมการสอนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547). การให้เหตุผลในวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์.

8. สุกัญญา หะยีสาและ. (2559). คุณค่าของการพิสูจน์. ในเอกสารประกอบการสอน.

9. สุวร กาญจนมยูร. (2546). กระบวนการคิดคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

10. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

11. อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬา- ลงกรณ์มหาวิทยาลัย.