การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต สองมิติและสามมิติ โดยใช้การเรียนรู้แบบปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติโดยใช้การเรียนรู้แบบปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา เขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนทั้งสิ้น 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีนักเรียนที่
ทำกิจกรรมครบทุกกระบวนการทั้งสิ้นจำนวน 15 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการทดลอง ทั้งหมด 12 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติโดยใช้การเรียนรู้แบบปฏิบัติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่เรียนโดยใช้กิจกรรม
การเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติโดยใช้การเรียนรู้แบบปฏิบัติ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติโดยใช้การเรียนรู้แบบปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
2. รวีวรรณ ธุมชัย. (2534). วิธีสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. เรียมรอง สวัสดิชัย. (2525). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการเท่ากันทุกประการโดนวิธีสอนแบบปฏิบัติการและบทเรียนโปรแกรม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
4. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สกสค.
5. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือครูรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: สกสค.
6. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 วิชาคณิตศาสตร์. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://timssthailand.ipst.ac.th. 2560
7. สมกมล ปุณณโกศล. โทรทัศน์ครู. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaiteachers.tv. 2559.
8. สมวงษ์ แปลงประสพโชค และภัทรวดี หาดแก้ว. (2555). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการและแบบอิงโครงงาน. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2).หน่วยที่ 11. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 6-13.
9. สุนทรี ดิษฐลักษณ. (2523). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทากการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนคณิตศาสตร์โดยวิธีสอนแบบปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
10. อรทัย ศรีอุทธา. (2547). ชุดกิจกรรมแบบปฏิบัติการ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
11. Corwin, Vera-Anne Whittier Versfelt. (1978). A Comparison of Learning Geometry With or Without Laboratory Activities Using Manipulature Aids and Paper Folding Teachniques. Dissertation International Abstracts. 11(May): 6584-A.
12. Monior, Mohammad Ibrahim. (1977). Some Effects of An Activity Approach to Teaching Geomatry in the High School in Afghanistan. Dissertation International Abstracts. 5(November): 2630-A-2631-A.