ความคาดหวังด้านความรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ธีรังกูร วรบำรุงกุล
ไพรวรรณ วงษ์สาสิลไชย

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังด้านความรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคาดหวังด้านความรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แล้วนำไป Try-out กับกลุ่มประชากรที่มิใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน จากนั้นนำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 ตัวอย่าง และนำมาวิเคราะห์ ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์


         ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความคาดหวังด้านความรู้ในระดับมากที่สุด เพศไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความคาดหวังด้านความรู้ อายุและชั้นปีที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความคาดหวังด้านความรู้ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จุฑารัตน์ สมอคร.(2551). ความคาดหวังของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรณีศึกษาเฉพาะ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

2. จุมพล เหมะคีรินทร์. (2557). “โรคกลัวคณิตศาสตร์แฝงอยู่ในพันธุกรรม.” วารสารสาระวิทย์ 14 (พฤษภาคม): 1-2.

3. ดารนี ศรีพรหมมุนี. (2543). ความคาดหวังของคณาจารย์สถาบันราชภัฏเลยที่มีต่อคุณลักษณะด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา. ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเลย.

4. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, คณะครุศาสตร์. (2554). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554). จันทบุรี: เอกสารอัดสำเนา.

5. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2558). ระบบบริการการศึกษา (REG). เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2558. จาก (http://reg.rbru.ac.th/registrar/student_group_aj.asp?backto=student_info_before_aj)

6. เศรษฐสิทธิ์ อนันตภักดิ์. (2551). สภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

7. สนทยา เขมวิรัตน์และธานี คงเพ็ชร์. (2551). ความคาดหวังของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจต่อการจัดการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

8. สัญลักษณ์ ปรัชญเมธา. (2551). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

9. อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

10. Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610