การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อระดับรายงานความยั่งยืนของกิจการด้านเศรษฐกิจ

Main Article Content

นภาพร จักรวาลกุล
ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
อิทธิพัทธ์ โยธะพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับรายงานความยั่งยืนของกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 558 บริษัท เก็บข้อมูลจากเอกสารรายงานประจำปี จำนวน 3 ปี (ปี 2556-2558)  โดยผ่านเว็บไซต์ของบริษัท วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับรายงานความยั่งยืนของกิจการ วิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า


1) ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับรายงานความยั่งยืนของกิจการ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการรายงานความยั่งยืนของกิจการ มิติด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ตัวแปรสัดส่วนในการเข้าร่วมประชุม (MEET)  ตัวแปรสัดส่วนของกรรมการอิสระ (NED)  และตัวแปรขนาดของกรรมการบริษัท (BODSIZE)  


2) ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับรายงานความยั่งยืนของกิจการ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พิจารณาจากกลุ่มธุรกิจกับความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ส่งผลต่อการรายงานความยั่งยืนของกิจการ มิติด้านเศรษฐกิจ พบว่า กลุ่มธุรกิจต่างกันมีตัวแปรที่ส่งผลต่อการรายงานความยั่งยืนของกิจการแตกต่างกัน และกลุ่มธุรกิจที่มีตัวแปรสอดคล้องกับความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดคือ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและยานยนต์ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2556). การทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงิน. การประชุมระดับชาติประจำปี 2556 สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 1454-1467.
2. นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2558). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน.วารสารวิชาชีพบัญชี. 11(30): 78-84.
3. มัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2556). ทางออกของธุรกิจไทยสู่หนทางแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจ.36(137): 38-50.
4. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. (2540). [Online] เข้าถึงได้จาก; https://th.wikipedia.org/wiki วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย_พ.ศ._2540. 2559.
5. สุทธิชา เกริกฤทธิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับสัดส่วนการถือหุ้นที่ถือโดยนักลงทุนสถาบันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บัญชีมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. Belal, A.R., Owen, D.L. (2007). The views of corporate managers on the current state of, and future prospects for, social reporting in Bangladesh: an engagement based study. Account.Audit.Account. J. 20(3): 472-494.
7. Baughn, C.C., McIntosh, J.C. (2007). Corporate social and environmental responsibility in Asian countries and other geographical regions. Corp SocResponsib Environ. Manag. 14(4): 189-205.
8. Cohen, J. (2003). Applied Multiple Regression/Correlation Analysis for the Behavioral Sciences.Lawrence Erlbaum Associates, Mahwah, N.J.
9. DinithiDissanayake a, Carol Tilt a, and Maria Xydias-Lobo.2016. Sustainability reporting by publicly listed companies in Sri Lanka. Journal of Cleaner Production.129(2016): 169-182. http://dx.doi.org/10.1016/j.jclepro.2016.04.086.
10. GiovannaMichelon and Antonio Parbonetti. (2010). The effect of corporate governance on sustainability disclosure. J ManagGov. 6(2012): 477–509.
11. John C. and Coates, IV. (2007). The goals andpromise of the sarbanes–Oxley Act. Journal of Economic Perspectives.21(1): 91–116.
12. Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010).Multivariate data analysis.7th Ed. Prentice-Hall, New Jersey.
13. Lee, M.D.P. (2008). A review of the theories of corporate social responsibility: its evolutionary path and the road ahead. Int.J. Manag. Rev. 10(1): 53-73.
14. MuhammadZahid and ZulkipliGhazali.(2015). Corporate sustainability practices among Malaysian REITs and property listed companies. World Journal of Science,Technology and Sustainable Development.12(2): 100-118.
15. Reddy, K., Gordon, L.W. (2010). The effect of sustainability reporting on financial performance: an empirical study using listed companies. J. Asia Entrepreneursh. Sustain. 6(2): 19-42.