แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุบรรณ ลาสา
ไพวุฒิ ลังกา
วิสุทธิ์ ราตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินแนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โรงเรียนต้นแบบ จำนวน 3 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน  ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม  จำนวน 17 คน  และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินแนวทาง  จำนวน 25 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์         แบบประเมินแนวทาง  และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า


            การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการก่อนรับการพัฒนา โดยมีการกำหนดนิยามผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ และความสำคัญของการเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพต่อการบริหารงานในสถานศึกษาและวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาและการกำหนดเนื้อหาและแผนการพัฒนาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินการพัฒนา มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาชุดเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้ศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างเข้ม เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ตามเนื้อหาที่ได้กำหนดไว้ ระยะที่ 2 การเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาอย่างเข้ม ประกอบด้วยเนื้อหาการอบรมมี 4 หมวดดังนี้ หมวดที่ 1 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ หมวดที่ 2 ภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมวดที่ 3 การพัฒนาสุขภาพกาย และหมวดที่ 4 การพัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างสุนทรียภาพ ระยะที่ 3 การฝึกปฏิบัติงานในสถานศึกษาต้นแบบผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกสถานศึกษาสำหรับผู้เข้ารับการพัฒนาจะต้องมีผลการบริหารสถานศึกษามีประสิทธิผลสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ และขั้นตอนที่ 3 ขั้นสรุปผลหลังการพัฒนาประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) ประเด็นการประเมินแนวทาง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินแนวทาง 3) วิธีการประเมินแนวทาง 4) การวิเคราะห์ผลการประเมินแนวทาง และ 5) การนิเทศติดตามหลังการพัฒนา ส่วนการประเมินแนวทาง การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2544). คู่มือปฏิบัติการโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
2. เจษฎาภรณ์ รอบคอบ. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณtกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
3. ชัญญา อภิปาลกุล และคณะ. (2545).รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
4. ธงชัย สันติวงษ์. (2533). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
5. ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล. ที. เพรส
6. ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบิรหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
7. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
8. ประชุม รอดประเสริญ. (2547).นโยบายและการวางแผน : หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
9. พนัส หันนาคินทร์. (2523) “การสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนไทย”, แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย. (มกราคม 2523 : 124 – 125).
10. พรศรี ฉิมแก้ว. (2552). ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเป็นมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
11. พัทธนันท์ โมครัตน์. (2558).แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
12. ฟาฏินา วงศ์เลขา. “ตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน”, เดลินิวส์. (7 กุมภาพันธ์ 2552 : 4).
13. ภิญโญ สาธร. (2519).หลักการบริหารโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
14. รุ่ง แก้วแดง. (2540). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
15. เลขาธิการคุรุสภา, (2549). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ.2537. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
16. วิเชียร แก่นไร่. (2542). การพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
17. วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบรูรณาการสหวิทยาการ สำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
18. ศรีภูมิ สุขหมั่น. (2552).การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
19. สุธรรม ธรรมทัศนานันท์. (2549). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
20. หทัยกาญจน์ บุญตัน. (2557). แนวทางพัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยาตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
21. อิทธิพล ศรีรัตนะ. (2558). ระบบการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในเครือสังฆมณฑล. ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
22. Rothwell and Sredl. (1992). The ASTD reference guide to professional human resource development roles and competencies. (2nd ed.) Amherst, MA: HRD.
23. Wiliam H and other. “Equity in Local Service Distribution”, Public Administration Review. (November/December 1977: 687-697).