รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุรีย์มาศ สุขกสิ
อัมพวัน ประเสริฐภักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อการพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบความคิดในการวิจัย 2) การสร้างร่างรูปแบบ  3) การพัฒนารูปแบบโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม0(Focus Group Discussion) 4) การสรุปและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 327 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนในสถานศึกษา จังหวัดจันทบุรี ขนาดเล็ก จำนวน 5 คน ขนาดกลาง จำนวน 5 คน และขนาดใหญ่ จำนวน 5 คน


            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย  1) ความขยัน โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติงานที่ได้รับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ ปฏิบัติงานเพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 2) ความประหยัด โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนสามารถเก็บออมทั้งเงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ ใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ และทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ  3) ความซื่อสัตย์ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนสามารถประพฤติ ปฏิบัติด้วยความซื่อตรง ประพฤติ ปฏิบัติด้วยความจริงใจ เป็นผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อหน้าที่ เป็นผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อเวลา เป็นผู้ที่มีความประพฤติ ปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ทั้งทางกาย วาจา และใจ 4) ความมีวินัย โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีระเบียบ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ปฏิบัติตนอยู่ในสังคมได้ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน5) ความสุภาพ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนมีกิริยาเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ ปฏิบัติตนด้วยความอ่อนโยน ปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย และแต่งกายสุภาพ น่ารักสมวัย 6) ความสะอาด โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนรักษาร่างกายให้ถูกสุขลักษณะ ปฏิบัติตนให้เกิดความสบายใจแก่บุคคลที่ได้พบเห็น รักษาที่อยู่และสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ ดูแลรักษาร่างกายได้อย่างถูกต้อง และรู้จักการฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ 7) ความสามัคคี โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ ปฏิบัติงานด้วยความพร้อมเพรียงกัน เป็นทั้งผู้นำและ ผู้ตามที่ดี มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และช่วยเหลือกันเพื่อให้การงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 8) ความมีน้ำใจ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนสามารถแบ่งปันผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่นได้มีความเอื้ออาทร สละความสุขส่วนตนเพื่อส่วนรวมได้ และช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญาตามความสามารถ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการศาสนา. (ม.ป.ป.). คู่มือการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : กรมฯ.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). 8 คุณธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
3. ชมเชย ทองชุม. (2547). การพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านนาสามัคคี อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (วิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
4. ชูวงศ์ ฉายะบุตร และมุ่งหมาย ซื่อตรง. (2548). หนังสือสาระการเรียนรู้พื้นฐานหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
5. ดวงเด่น นุเรมรัมย์. (2548). ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรม. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.
6. ทิศนา แขมมณี และคนอื่น ๆ. (2546). กิจกรรมการปลูกฝังค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : เสริมสินพรีเพรส ซิสเท็ม.
7. ประเทือง กัปปิยบุตร. (2552). การศึกษาการดำเนินงานจัดประสบการณ์ปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
8. ภควัตพร มหาเขตต์ เฉลา ประเสริฐสังข์ และวิเชียร พันธ์เครือบุตร. (2558). “การศึกษาสภาพการจัดกิจรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1”. ใน วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 9(3). : 109-118.
9. ยุพิน ป่าตาล. (2553). การปฏิบัติตามบทบาทครูในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนในกลุ่มตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
10. วรรณกนก ทองแดง. (2551). บทบาทของครูผู้สอนในการสร้างเสริมจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอกระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
11. วณิชา เพชรสุวรรณ. (ม.ป.ป.). คู่มือการเรียนการสอนกลุ่มวิชาการงานอาชีพในงานบ้าน. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
12. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545 - 2559) : ฉบับสรุป.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
13. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). คุณธรรมนำความรู้ รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าของความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
14. Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Journal of Education and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.