สภาวการณ์และแนวทางพัฒนาการใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปี 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์การใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และหาแนวทางพัฒนาการใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อถามสภาวการณ์การใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 227 คน จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 58 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .29 – .80 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการนำเสนอแนวทางพัฒนาการใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รำไพพรรณี ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาวการณ์การใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x =3.43) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน และระดับปานกลาง 4 ด้าน เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ มิติชีวิตกับการเรียนรู้ (x= 3.91) มิติชีวิตกับคุณธรรมจริยธรรม
    (x= 3.84) มิติชีวิตทางเพศ (x= 3.65)  มิติชีวิตกับความเครียดและสุขภาพจิต x(= 3.53) มิติชีวิตกับครอบครัว
    (x= 3.51) มิติชีวิตกับสื่อ x(= 3.38) มิติชีวิตกับความแข็งแรง การบริโภคและความปลอดภัย (x= 3.37) มิติชีวิตกับอบายมุข (x= 2.98) และมิติชีวิตกับความรุนแรง (x= 2.71)

  2. แนวทางพัฒนาการใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
    ควรครอบคลุมในทุกๆ ด้าน อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เน้นการพัฒนาโดยเรียงลำดับตามประเด็นความสำคัญ ดังนี้
    1) มิติชีวิตกับการเรียนรู้ 2) มิติชีวิตกับคุณธรรมจริยธรรม 3) มิติชีวิตทางเพศ 4) มิติชีวิตกับความเครียดและสุขภาพจิต
    5) มิติชีวิตกับครอบครัว 6) มิติชีวิตกับสื่อ 7) มิติชีวิตกับความแข็งแรง การบริโภคและความปลอดภัย 8) มิติชีวิตกับอบายมุข และ 9) มิติชีวิตกับความรุนแรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ทัศนา ทองภักดี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์มหาวิทยาลัยกับบุคลิกภาพของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร. สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร
2. แพรวพรรณ โสมาศรี. (2556). การศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
3. รุจิ ภู่สาระ. (2531). ปัญหาการสอนในระดับอุดมศึกษา. การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “การสอนในระดับอุดมศึกษา”.กรุงเทพฯ: สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย.
4. วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2530). อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. สถาบันรามจิตติ. (2558). สภาวการณ์เด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี ปี 2557-2558. เอกสารประกอบการประชุมโครงการพัฒนาเครือข่ายและกลไกการศึกษาสภาวการณ์และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนระดับภาคตะวันออก วันที่ 9 กรกฎาคม 2558 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จังหวัดชลบุรี.
6. สราวลี เรืองวิเศษ. (2537). การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษาในสถานการณ์การสอนทางคลินิกวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2543). แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
8. รพงษ์ ชูเดช. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยกับจิตลักษณะสำคัญของนิสิต. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
9. เสาวลักษณ์ คงคาฉุยฉาย และมานิตย์ แก้ววงษ์ศิริ. (2554). การศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
10. Best, John W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.
11. Cronbach, L.J. (1990), Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.
12. Yamane, Taro. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.