การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากวัสดุต้นตาล ประเภทของใช้และของตกแต่ง

Main Article Content

วุฒิชัย วิถาทานัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาความต้องการของผู้บริโภค ที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากวัสดุตาล ประเภทของใช้และของตกแต่ง โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลแล้วนำมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากวัสดุตาล ประเภทของใช้และของตกแต่ง และ ขั้นตอนสุดท้ายที่ได้หลังจากการออกแบบคือศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากวัสดุตาลประเภทของใช้และของตกแต่งที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นแล้วของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ โดยพื้นที่ในการวิจัยและเก็บข้อมูลคือจังหวัดเพชรบุรี โดยการเก็บข้อมูลความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวทางในการออกแบบและประยุกต์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุตาลคือการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์ ควรเน้นการใช้วัสดุที่เป็นพื้นถิ่นเพราะวัสดุเป็นตัวสื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์ และ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ชัดเจน ส่วนที่ต้องปรับปรุงและแก้ไขคือ การออกแบบควรจะออกแบบโดยให้มีรูปทรงที่มีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับการใช้งานเป็นอย่างมาก และควรจะมีประโยชน์ใช้สอยที่ชัดเจนและหลากหลาย รูปทรงจะต้องมีความแปลกใหม่ รูปแบบมีความสร้างสรรค์มีจุดเด่น และมีประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม โดยเน้นการผลิตที่ง่ายเพื่อเอื้อต่อเครื่องมือ และความสามารถของช่างผู้ผลิต ผลที่ได้จาการออกแบบและการศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์สรุปได้ว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุต้นตาลประเภทของใช้และของตกแต่ง ทุกด้าน ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ มาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า ด้านประโยชน์ใช้สอย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านรูปแบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ มาก ด้านความคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ด้านความสวยงามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ มาก ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2546).แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
2. นิรัช สุดสังข์.(2548).ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์
3. บุษราคัม เริงโกสุม. 2544. ศิลปะพื้นบ้าน. นครสวรรค์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สถาบันราชภัฎนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.
4. มูลนิธิช่างหัตถกรรมศิลป์ไทย. 2528. รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ.
5. รัตนพงศ์ จันทร์มา. 2542. ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองสำหรับการตกแต่งของกลุ่มหมู่บ้านคลองขุดใหม่ กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
6. วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. 2538. ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พับลิคบิสเนสพริ้นท์.
7. วิวัฒน์ชัย บุญยศักดิ์. (2533). ศิลปหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.