ผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้จำหน่ายผัก อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง

Main Article Content

ศันสนีย์ แก้วดวงเล็ก
นิภา มหารัชพงศ์
ยุวดี รอดจากภัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผู้จำหน่ายผัก ได้แก่ ความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยนำทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมาสร้างโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จำหน่ายผัก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ใช้ระยะเวลาในการวิจัยทั้งหมด 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test


   ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลอง หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ          (p < 0.05) และกลุ่มทดลองมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)


   โปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมทำให้ผู้จำหน่ายผักปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูที่ปนเปื้อนในผักดีขึ้น ดังนั้นสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้จำหน่ายผักในพื้นที่อื่นหรือเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กมล เลิศรัตน์ มนัชญา งามศักดิ์ และอานุภาพ สังข์ศรีอินทร์. 2553. R&D เพื่อการบริโภคผักและผลไม้: บนเส้นทางสู่คุณภาพชีวิต. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
2. ชิษณุพงศ์ ดาด้วง. 2555. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผู้รับจ้างฉีดพ่น อำเภอกมลาไสย จังหวัดหวัดกาฬสินธุ์.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. เด็ดเดี่ยว วรรณชาลี. 2553. ผลของโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอสตึง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
4. ศิริพร สมบรูณ์. 2552. ผลการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. รายงานประจำปี 2012 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพฯ:สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข. การสุ่มตรวจตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ปี 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rayongfda.org/. 2556.
7. อนามัย เทศกะทึก. 2551. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นตริ้ง. เฮ้าส์.
8. อรนิฏา ธารเจริญ. 2555. การรับรู้อันตรายจากสิ่งปนเปื้อนในผักสดของผู้จำหน่ายผัก ในตลาดสดแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (บศ.). 12(3): 97-104.
9. อรวรรณ คำวิลัย. (2554). การเปรียบเทียบการให้สุขศึกษาที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลท่าใหม่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
10. Mint, K. Quality and Safety in the fresh produce marketing chain in Myanmar. [online]. available: http://ftp.fao.org/docrep/fao/meeting/011/ag102e/ag102e00.pdf. 2005.
11. Roger, R.W. 1975. A Protection Motivation Theory of Fear Appeals and Attitude Change. Journal of Psychology. 91: 93-114.
12. House, J.S. 1985. Work Stress and Social Support. California: Addison – Wesley.