ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 ในปีการศึกษา 2560 ตามตารางของเครซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มแบ่งชั้นจำแนกตามจังหวัด จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีอำนาจจำแนกระหว่าง.24-.90และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)ผลการวิจัย พบว่า
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยครูผู้สอน ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและปัจจัยนักเรียน
- ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา การพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก และการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง
- ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมของตัวพยากรณ์จำนวน 5 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยนักเรียน ด้านพฤติกรรมการเรียน(X7)ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านผู้นำแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (X4) ปัจจัยนักเรียน ด้านคุณภาพชีวิตครอบครัว (X8) ปัจจัยครูผู้สอน ด้านพฤติกรรมการสอน (X6) ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านผู้นำแบบชี้นำ (X1) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้
Ŷ = .435 + .228(X7) + .226(X4) + .283(X8) + .112(X6) + .093(X1)
z = .289(Z7) + .290(Z4) + .296(Z8) + .116(Z6) + .114(Z1)
Article Details
References
2. จันทร์ชลี มาพุทธ. (2556). หลักและพื้นฐานการศึกษาขั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. ธร สุนทรายุทธ. (2551). ทฤษฎีองค์กรและพฤติกรรม หลักการ ทฤษฎี การวิจัย และการปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.
4. นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
5. นิตยา มั่นชำนาญ. (2555). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณtกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฏีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. ประวิตา มีเปี่ยมสมบูรณ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาoเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. ไพรวัลย์ พิทักษ์สาลี. (2551). โรงเรียนคุณภาพกับศึกษานิเทศน์คุณภาพ. วารสารวิชาการ. 11(ต.ค.-ธ.ค.): 73-74.
8. สมโชค โพธิ์งาม. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพิ้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
9. สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2548). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
10.อำภา ปิยารมย์. (2549). การศึกษาภาวะผู้นำกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
11. Blomeke, S., Suhl, U., & Kaiser, G. (2014). Teacher Education Effectiveness: Quality and Equity of Future PrimarTeachers’s Mathematics and Mathematics Pedagogical Content Knowledge. Advances in Mathematics Education, from Springer database.
12. Borko,H., Davinroy,K.H., Bliem, C.L., &Cumbo, K. B. (2000). Exploring and supporting teacher change: Two third-grade teachers’ experiences in a mathematics and literacy staff development project. The elementary School Journal. 100(4): 273-306.
13. Hrincu,M.E. (1992). The concept of organization effectiveness. Doctoral dissertation, Department of educational administration, Graduate school, University of Toronto.
14. Khan, M. A. (2015). An Empirical Study of Determinants of Teachers’ Effectiveness in Higher Education Institutions in Pakistan. Taylor’ s 7th teaching and Learning Conference 2014 Proceedings. from Springer database.
15. Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
16. Lynne, T.,Jason, S., Mecklenburg, S. c., Chuang, W., Bob, A., & Elizabeth, K. (2012). An Analysis of Teacher Absence and Student Achievement. Educational Administration Quarterly.(133): 367-382.
17. Morrow, W. R., & Wilson, R. C. (1961). Family relations of bright high-achieving and underachieving high school boys.Child Delopment, 32(6): 508-814.
18. Mzumara, H.R. (1996). The Relationship Between Test Expectancy and Student’s Study Behaviors. Dissertation abstracts international, 56(12): 4739.
19. Reid, K., David, H., & Peter, H. (1988). Towards the effective school: The problem and some solutions. Oxford: Basil Blackwell.
20.Shah, F. (1971). Socio-psychological determinant of academic achievement of children in Pakistan. Dissertation Abstracts International. 31(2): 6688-A.