อิทธิพลของน้ำตาลซูโครสต่อการชะลอการเจริญเติบโตต้นอ่อนกล้วยไม้เอื้องดอกมะเขือ ในสภาพปลอดเชื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอิทธิพลของน้ำตาลซูโครสต่อการชะลอการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้เอื้องดอกมะเขือที่เลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตร Modified Vacin and went (1949) โดยเติมน้ำตาลซูโครสที่ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน 6 ระดับคือ 0, 2, 4, 6, 8, และ 10 เปอร์เซ็นต์ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 6 สิ่งทดลองๆ ละ 10 ซ้ำๆ ละ 4 ต้น เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า การเติมน้ำตาลซูโครสที่ระดับความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ สามารถชะลอการเจริญเติบโตทางความสูงของต้นอ่อนกล้วยไม้เอื้องดอกมะเขือได้ดีที่สุด โดยมีความสูงเฉลี่ยของลำลูกกล้วยน้อยที่สุด คือ 1.210 เซนติเมตร ซึ่งสามารถขยายเวลาในการเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่ออกไปได้มากกว่า 6 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตร Modified Vacin and Went (1949) เติมน้ำตาลซูโครส 4 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ความสูงของลำลูกกล้วยเฉลี่ยสูงสุด (1.725 เซนติเมตร) และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำลูกกล้วยเฉลี่ยมากที่สุดคือ 0.215 เซนติเมตร
Article Details
References
2. รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ. (2545). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช: หลักการและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3. สลิล สิทธิสัจจธรรม (2549). กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
4. Lopez, H.D., M.J. Casas and I.M. Scott. 1998. Storage of potato microplants in vitro the presence of acetylsalicylic acid. Plant Cell, Tissue and Organ Culture. 54: 145-152.
5. Razdan, M.K. (1994). An Introduction to plant tissue culture. England :Chaman Enterprises.
6. Vacin, E. F. and F. W. Went. (1949). Some pH changes in nutrient solutions. Bot. Gaz. 110 : 605-613.