การศึกษาวิธีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสานในแปลงปลูกพืชปลอดสารเคมี ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วัชรวิทย์ รัศมี
อัจฉรา บุญโรจน์
ชุติมา อ้อมกิ่ง
ศิวพร เอี่ยมจิตกุศล

บทคัดย่อ

การทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงปลูกพืชปลอดสารเคมี ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 5 กรรมวิธีคือ กรรมวิธีที่ 1 (การควบคุมโดยใช้วิธีเขตกรรม ร่วมกับวิธีกล) กรรมวิธีที่ 2 (การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม ร่วมกับเชื้อราบิวเวอร์เรีย) กรรมวิธีที่ 3 (การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม ร่วมกับสารสกัดจากสะเดา) กรรมวิธีที่ 4 (การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม ร่วมกับวิธีกล เชื้อราบิวเวอร์เรีย และสารสกัดจากสะเดา) และกรรมวิธีที่ 5 (การควบคุมตามวิธีของเกษตรกร) โดยทำการทดลองในสภาพแปลงปลูก เก็บข้อมูลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เมื่อทำการหาค่าเฉลี่ยของการถูกทำลายของผักคะน้าทั้ง 12 ครั้ง พบว่ากรรมวิธีที่ 4 ให้ผลดีที่สุดทำให้ผักคะน้าถูกทำลายเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 19.90±4.85% รองลงมาคือกรรมวิธีที่ 3, 1 และ 2 โดยมีผลทำให้ผักคะน้าถูกทำลายเฉลี่ยเท่ากับ 25.11±6.84, 31.94±8.41 และ 35.53±7.19% ตามลำดับ สำหรับกรรมวิธีที่ 5 พบว่าผักคะน้าถูกทำลายเฉลี่ยเท่ากับ 55.78±7.85%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรีนเนท. ภาพรวมสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย 2558. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.greennet.or.th/article/411. 2558
2. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ผลการเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ ประจำปี 2559. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaipan.org/sites/default/files/file/pesticide_ doc25_press_4_5_2559.pdf. 2559.
3. จุฑามาส ฮวดประสิทธิ์ และจุรีมาศ วังคีรี. (2560). ประสิทธิภาพของราสกุล Metarhizium และ Beauveria ในการ ควบคุมเพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus พาหะนำโรคใบขาวอ้อย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(3): 467-478.
4. ไทยพับลิก้า. Thai-PAN เปิดผลตรวจผัก-ผลไม้ ชี้ตรา Q แชมป์สารเคมีตกค้างมากที่สุด –ผักด๊อกเตอร์เกินค่ามาตรฐานซ้ำซากติดต่อ 3 ปี. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://thaipublica.org/2016/05/thai-pan-4-5-2559. 2559.
5. นัฐวุฒิ ไผ่ผาด สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ และธีรพัฒน์ สุทธิประภา. (2557). ผลจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. แก่นเกษตร. 42(3): 301-310.
6. มณฑ์ภิยา สงวนหงษ์ และอังคณา เปี่ยมพร้อม. (2559). ผลของสมุนไพรวงศ์ Zingiberaceae 5 ชนิดต่อการป้องกันกำจัดหนอนผักกาด. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
7. มติชนบท. ศิวพร เอี่ยมจิตกุศล ปลูกเปลี่ยนโลก(โรค)ด้วยเกษตรอินทรีย์ที่จันทบุรี. [Online]. เข้าถึงได้จาก :https://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=1375. 2557.
8. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน. เกษตรกรรมในประเทศไทย. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sathai.org/autopagev4/files/AudKQg5Thu100547.pdf. ม.ป.ป.
9. มูลนิธิชีววิธี. ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.biothai.net/node/8691. 2554.
10. รติยา คูเขตพิทักษ์วงศ์ สังวาล สมบูรณ์ สุภาณี พิมพ์สมาน และวัชรี คุณกิตติ. (2546). การเปรียบเทียบปริมาณสาร azadirachtin และถทธิ์การยับยั้งการกินของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาสามชนิดต่อหนอนใยผัก. วารสารวิจัย มข. 8(2): 11-17.
11. วิฑูรย์ เลี่ยนจำเริญ สุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ นิรมล ยุวนบุณย์ เหรียญ ใกล้กลาง อารีวรรณ คูสันเทียะ พิเชษฐ์ ปานดำ วิทยา พรมจักร และสุรารักษ์ ใจวุฒิ. (2548). จากปฏิวัติเขียวสู่พันธุวิศวกรมประโยชน์และผลกระทบต่อประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
12. ศิวพร เอี่ยมจิตกุศล. 2559. (10 กุมภาพันธ์ 2559). สัมภาษณ์. สวนเกษตรอินทรีย์ ต.คลองพลู อ.เขาคิชฌกูฏจ.จันทบุรี.
13. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. สี่สารพิษตกค้างอันตรายที่ต้องระวัง. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaihealth.or.th. 2558.
14. สุนทร พิพิธแสงจันทร์ สนั่น ศุภธีรสสกุล ปาริชาต ปาลินทร สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์ และก้าน จันทร์พรหมมา. (2548). ผล ของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาช้างต่อหนอนกระทู้ผัก. ว. สงขลานครินทร์ วทท. 27(3): 511-521.
15. สุพัตรา อินทวิมลศรี บุษบง มนัสมั่นคง เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ จันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์ และเพ็ญศรี นันทสมสราญ. (2553). การบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน. ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 กรมวิชาการเกษตร.
16. Debashri, M. and Tamal, M. (2012). A reviews on effect of Azadirachta indica A. Juss based biopesticides: An Indian perspective. Research Journal of Recent Sciences. 1(3): 94-99