การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

จินดาพร เทียมภักดี
นคร ละลอกน้ำ
ฐิติชัย รักบำรุง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพ บทเรียนออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80  2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร  จังหวัดชลบุรี ที่เรียนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน โดยได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  1) บทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน  3) แบบศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบประสิทธิภาพ (E1/E2)  และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 80.58/81.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ .6083 คิดเป็นร้อยละ 60.83  3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
2. กิตติพงศ์ ณ นคร. (2553). การสร้างบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
3. ฉลอง ทับศรี. (2549). การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design). ชลบุรี : ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยับูรพา.
4. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
5. ปิยวดี กีรติสวัสดิ์. (2556). ผลของการสร้างบทเรียนออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องการผลิตสื่อวีดิทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
6. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
7. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
8. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
9. อาชิรญาณ์ เกษสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.