กลยุทธ์การช่วยเหลือผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ที่ไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด และเพื่อสร้างกลยุทธ์การช่วยเหลือผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด โดยได้แบ่งการวิจัยในออกเป็น 2 ตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือของผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ที่ไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2551 ที่ไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด ตัวอย่างจำนวน 137 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกลยุทธ์การช่วยเหลือผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 จำนวน 7 คน และ การตรวจสอบกลยุทธ์การช่วยเหลือผู้เรียนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือของผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ที่ไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด ด้านบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริการและสวัสดิการ และด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อผู้เรียนเรียงตามลำดับ และกลยุทธ์ที่สร้างจากการรวบรวมข้อมูลของสภาพปัญหา ความต้องการ และวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ และทำการตรวจสอบกลยุทธ์ ได้กลยุทธ์ทั้งหมด 5 กลยุทธ์ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ 1)กลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทศวรรษที่ 21 2) กลยุทธ์พัฒนาครูให้เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอน 3) กลยุทธ์การพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือและติดตามผู้เรียน 4) กลยุทธ์การบริการด้วยคุณภาพ 5) กลยุทธ์การจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
Article Details
References
2. ธีระพงษ์ สวนดี. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
3. บุญชม ศรีสะอาด, และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาสารคาม. 3(1): 22-25.
4. ปัญณิตา ชัยสนิท. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของนักศึกษาวิชาการพูดเพื่อประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
5. มยุรี นาสมใจ. (2555). การพัฒนาครูด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
6. ยุภารัตน์ ชลภาพ. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศในชั้นเรียนและพฤติกรรมความรับผิดชอบ ของวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
7. ลำไพ มะณีแสง. (2558). การศึกษาการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
8. วัชระ เกิดสิน. (2558). การพัฒนาระบบการดูแลผู้เรียนในสถานศึกษาด้วยการจัดการแบบมีส่วนร่วมสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
9. วิรงรอง อินทร์แก้ว. (2555). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ ในการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
10. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตราด. (2558). แผนปฏิบัติการ ประจำปี งบประมาณ พุทธศักราช 2558. ตราด: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตราด.
11. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตราด. (2559). แผนปฏิบัติการ ประจำปี งบประมาณ พุทธศักราช 2559. ตราด: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตราด.
12. สายทอง สวงโท. (2550). การศึกษาปัญหาและความต้องการของครูต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
13. สุรีรัตน์ ข้ามสาม. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.
14. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2555) . คู่มือดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555). กรุงเทพฯ: รังษีการพิมพ์.
15. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2561) . นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช2561. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://sk.nfe.go.th/sknfe/UserFiles/Pdf/ONIE_Pol61-Web.pdf. 16 พฤษภาคม 2561.
16. อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2551). การจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ตอนที่ 2 : การจัดการเรียนรู้. . (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://panchalee.wordpress.com/2011/03/การจัดการเรียนรู้. 20 พฤษภาคม 2561.
17. Krejcie, R. V., & Morgan,D.W. (1970). Deterninning salmple size for research activitities. Educational Measuremen.30(3).608.