การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้จากการสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย องค์ประกอบองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เพื่อนำผลการสัมภาษณ์มาร่างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน แสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งใช้กระบวนการเทคนิค เดลฟาย จำนวน 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามในรอบแรกเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด สำหรับรอบที่ 2-3 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ และหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนในฝันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า กำหนดคำตอบเป็น 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า มีองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 8 องค์ประกอบ 53 ตัวแปร ได้แก่ องค์ประกอบการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบการมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบการจัดโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม องค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และองค์ประกอบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีจำนวนองค์ประกอบละ 6 ตัวแปรเท่ากัน องค์ประกอบการคิดอย่างเป็นระบบ องค์ประกอบการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีจำนวนองค์ประกอบละ 7 ตัวแปร และองค์ประกอบการสร้างบรรยากาศแบบเปิด มีจำนวน 9 ตัวแปร
- การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ องค์ประกอบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และองค์ประกอบการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สำหรับองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากคือ องค์ประกอบการคิดอย่างเป็นระบบ องค์ประกอบการจัดโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม องค์ประกอบ
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบการมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบการสร้างบรรยากาศแบบเปิด และองค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
Article Details
References
2. กรุณา พลใส. (2550). แนวทางการพัฒนาบุคลากร เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. ชัชวาล จรูญรัชฎ์. ( 2550). การพัฒนาสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. (เอกสารวิจัยหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 19). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
4. พะโยม ชิณวงศ์. ( 2555 ). รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
5. ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2550). โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน CRP. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. สาโรจน์ แก้วอรุณ. ( 2552 ). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย.
7. Bennett, J. K., & M. J. O’ Brien. (1994). The building block of the learning organization. Training,31,41-49
8. Gephart, M. A., Marsick,V.J, et al. (1996). Learning organization come alive. Training & Development. 50 (12),34-44.
9. Krejcie, R.V. and Mogan , D.W.(1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-609.
10. Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization. New York: McGraw-Hill.
11. Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for Corporate Learning.Palo Alto: Davies-Black.
12. Reece, P. D. (2004). University as learning organization how can Australian universities become learning organization?. Unpublished doctoral’s dissertation, Murdoch University.
13. Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organizational. New York : Doubleday.
14. Senge, P. M. (1991). Team Learning. McKinsey Quarterly: 82 – 93.
15. Ubben, C.G.,et al., (2001). The Principal: Creative leadership for effective school. (4 th ed).Boston: Allyn and Bacon.
16. Ulrich, D. (1993). Profiling organizational competitiveness: Cultivating capabilities. Human Resource Planning, 16(3), 1-17