กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้านการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน

Main Article Content

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้านการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน    2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน และ 3) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ลักษณะการอยู่อาศัยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 131 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบค่าที (t-test for Independent Sample) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : One-way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้ด้านการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก      2) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางเกือบทุกด้าน เว้นแต่การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนาอยู่ในระดับสูง 3) การเปรียบเทียบกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนจำแนกตาม เพศ ไม่แตกต่างกัน ส่วน อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนลักษณะการอาศัยอยู่ในชุมชน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. ประเวศ วะสี. (2541). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมและศีลธรรม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
3. รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
4. วรยุทธ กิตติอุดม. (2550). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน : ศึกษากรณีชุมชน สุขสันต์พัฒนา เขตคลองสามวา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
5. อานันท์ กาญจนพันธ์. (2544)มิติชุมชน วิธีคิดท้องถิ่น ว่าด้วยสิทธิ อำนาจและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
6. อัญธิกา ชั่งกฤษ. (2554). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. Yamane, Taro.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.