วิเคราะห์บทเพลงศิลปินแห่งชาติ ชลธี ธารทอง

Main Article Content

อิทธิพงษ์ ฟองสมุทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง วิเคราะห์บทเพลงศิลปินแห่งชาติ ชลธี ธารทอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาชีวิประวัติ ผลงาน ของศิลปินแห่งชาติ ชลธี ธารทอง และศึกษาวิเคราะห์ทำนองเพลงและคำร้องของศิลปินแห่งชาติ ชลธี ธารทอง ด้วยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร การสัมภาษณ์   ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
              1.ชลธี ธารทอง มีชื่อจริงว่า นายสมนึก ทองมา เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2480 ที่บ้านตม ตำบลสระสี่เหลี่ยมอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีฐานะยากจนต้องอาศัยอยู่กับปู่ย่าและป้า จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เคยประกอบอาชีพมากมายเช่น ชกมวย นักร้อง และนักประพันธ์เพลงจวบจนปัจจุบัน
              ครูชลธี ธารทอง เป็นคนซื่อตรง จริงใจ จิตใจอ่อนโยน โมโหง่ายหายเร็ว ครูชลธี ธารทอง แต่งงานกับนางศศิวิมล ทองมา มีอาชีพเป็นครูที่โรงเรียนวีรศิลป์ อยู่ที่ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
              ครูชลธีเรียนวิชาเปียโนที่กรุงเทพการดนตรีกับครูสุทิน เทศารักษ์ ในด้านการประพันธ์นั้นครูชลธีใช้วิธีครูพักลักจำในการเรียนประพันธ์บทเพลง จดจำรูปแบบการประพันธ์จากครูเพลงหลายท่าน และได้ศึกษากับครูสำเนียง ม่วงทอง เป็นต้นแบบในการเรียนรู้วิชาด้านการประพันธ์บทเพลงลูกทุ่ง
              2. ท่อนเพลงแต่ละท่อนเพลงนั้นจะมีความสัมพันธ์กันคือ A1,A2,A3 จะมีลักษณะทำนองคล้ายกัน (Near Repetition) และมีท่อน B1 เป็นท่อนที่แตกต่างจากท่อนอื่นจำนวน 6 เพลง ส่วนอีก 1 เพลงมีลักษณะมีท่อนเพลงในรูปแบบ A1 B1 B2 โดยวรรคเพลงเป็นลักษณะการถาม( ANTECEDENT) ตอบ (CONSEQUENCE)ของแต่ละวรรค มีลักษณะการเริ่มทำนองทั้งแบบไม่ครบจังหวะห้องเพลง(Anacrusis) และการเริ่มทำนองแบบครบจังหวะห้องเพลง(Thesis) ในวลีเพลงนั้นจะมีวรรคคำร้องและจะมีตั้งแต่ 1 วรรคคำร้อง หรือหลายวรรคคำร้องใน 1 วลีมักจะอยู่ในรูปแบบของบันไดเสียงเพนทาโทนิค(Pentatonic scale) เป็นหลัก พบการใช้เทคนิครีโทรเกรด(Retrograde),วาริเอชั่น(Variation),โน้ตเสียงค้าง(Pedal Note),โน้ตผ่าน(Passing note),โน้ตเคียง(Neighboring note)
             3.บทเพลงมีการประพันธ์คำร้องได้สอดคล้องเหมาะสมกับทำนอง รูปแบบคำร้องอยู่ในลักษณะบทร้อยกรอง มีการปรับวรรณยุกต์และความเหมาะสมของบทเพลงและภาษาไทยให้สอดคล้องไปด้วยกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จินตนา ดำรงค์เลิศ. (2533). วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2. เจนภพ จบกระบวนวรรณ. (2530). เพลงลูกทุ่งกับมุมมองด้านการเมือง. ครูบริทัศน์.
3. ชลธี ธารทอง.(2547). ชลธี ธารทอง เทวดาเพลง. กรุงเทพ : อินฟอร์มีเดีย บุ๊ค.
4. ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2544). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ . กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. เพ็ญศรี พุ่มชูศรี. (2534). กึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการศูนย์วัฒนธรรมแห่ง- ประเทศไทย
6. ทอม แมนนอฟ. (2539). สนุกกับดนตรีพื้นฐาน . กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.