การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

อิทธิพัทธ์ โยธะพันธ์
ภัทราวดี มากมี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 โดยใช้โปรแกรม Mplus ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 ความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วยตัวแปรแฝงใน 6 ตัวแปรและตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัวแปร ค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักองค์ประกอบ (β) ทุกตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักความสำคัญสูงที่สุดคือองค์ประกอบสื่อมัลติมีเดียด้านสุขภาพ (β =0.752)  รองลงมาคือองค์ประกอบโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (β =0.547) องค์ประกอบการสืบค้นข้อมูล (β =0.524) องค์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (β =0.518) องค์ประกอบสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้อินเทอร์เน็ต (β =0.292) และองค์ประกอบโปรแกรมสำหรับการนำเสนอผลงาน (β =0.280) ตามลำดับ มีความตรงเชิงโครงสร้างและมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าสถิติไคสแควร์เท่ากับ 181.930, df=136, p-value=0.0052, ดัชนี CFI=0.982, TLI=0.979,  SRMR=0.062, RMSEA=0.029, และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง (R2 อยู่ระหว่าง 0.079 ถึง 0.565)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ.2554-2563 ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
2. กันต์ฤทัย คลังพหล. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจ : การวิเคราะห์โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. วัชระ บุญมี. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหญิงและนักศึกษาชายระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
4. วิเชียร ภู่สวรรณ. (2544). การใช้เทคโนโลยี. วิชาการ. 4(9) : 25–27.
5. นุสรา ประเสริฐศรี และนวพล แก่นปุบผา. (2555). ระดับการใช้และอุปสรรคการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์พยาบาลเพื่อจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 23(2): 55-64.
6. บุญญลักษม์ ตำนานจิตร. (2552). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
7. ภัทราวดี มากมี. (2559). การพัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลองค์กรภาครัฐในเขตอาเซียน: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(1): 34-48.
8. เมทณี ระดาบุตร โสภาพันธ์ สะอาด สุวลี มิลินทางกูร และสายหยุด พิลึก. (2554). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยบริการ. 22(1): 109-116.
9. ยืน ภู่วรวรรณ. ไอทีกับแนวโน้มโลก. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.school.net.th/library/snet1/network/tech_it.html. 2557.
10. Al , V. Venkatesh, J. Y. L. Thong, and X. Xu. (2012). Consumer acceptance and use of information technology: Extending the unified theory of acceptance and use of technology. MIS Quartery. 36(1) :157-178.
11. Ball & Levy,Y. (2008). Emerging Educational Technology : Assessing the Factors that Influence Instructors’ Acceptance in Information Systems and Other Classrooms. Journal of Information Systems Education. 19(4) : 431–444.
12. Education. 19(4) : 431–444.
Chih-Hsiang Weng, Yao Tang. (2014). The relationship between technology leadership strategies and effectiveness of school administration: An empirical study. Computers & Education. 76: 91–107.
13. Guoyuan Sang, Martin Valcke, Johan van Braak, Jo Tondeur. (2010). Student teachers’ thinking processes and ICT integration: Predictors of prospective teaching behaviors with educational technology. Computers & Education. 54(2010) : 103–112.
14. Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. 7th Ed. Prentice-Hall, New Jersey.
15. Hooper, D., Coughlan, J. & Mullen, R. M. (2008). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods. 6(1) : 53-60
16. Patricia Insúa Cerretani a, Elena Bernaras Iturrioz b, Paola Bully Garay c. (2016). Use of information and communications technology, academic. Computers in Human Behavior. 56(2016): 119-126.
17. Sajjakaj Jomnonkwao, Vatanavongs Ratanavaraha. (2016). Measurement modeling of the perceived service quality of a sightseeing bus service : An application of hierarchical confirmatory factor analysis. TransportPolicy. 45(2016) : 240–252.
18. Surej P. John. (2015). The integration of information technology in higher education: a study of faculty’s attitude towards IT adoption in the teaching process. Contaduríay Administración. 60(S1) : 230-252 .
19. Roblyer, M. D. (2006). Integrating educational technology into teaching. 4th Ed. Prentice Hall. USA.