ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วยบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที ค่าสถิติทดสอบเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 31-40 ปี มีสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ สถานภาพสมรสเป็นโสด มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทระดับเงินเดือนอยู่ระหว่าง 20,001 - 30,000 บาท และระยะการทำงานในองค์กรมากกว่า 6 ปี
คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในองค์กรโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายมิติของคุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 6 มิติ ได้แก่ มิติกายภาพ มิติการบริหารงาน มิติบริหารทรัพยากรมนุษย์ มิติส่วนบุคคล มิติสังคม และมิติเศรษฐกิจ พบว่า บุคลากรมีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 6 มิติอยู่ในระดับ ปานกลางโดยที่มิติส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมิติกายภาพ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในองค์กรโดยภาพรวม อยู่ในระดับสูงและพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรด้านความเต็มใจในการทุ่มเทความสามารถเพื่อองค์กรอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความผูกพันต่อองค์กรด้านการยอมรับเป้าหมายขององค์กรอยู่ในระดับสูงมีค่าเฉลี่ยรองลงมา สำหรับ ความผูกพันต่อองค์กรด้านความต้องการเป็นสมาชิกขององค์กร อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผลการเปรียบเทียบ พบว่าบุคลากรชาย และหญิงมีความผูกพันต่อองค์กร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ ได้แก่ อายุ สถานภาพบุคลากร สถานภาพสมรส และระดับเงินเดือน ที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกหรือมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยที่ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (r=0.43 )
Article Details
References
2. จิรากร รอดทอง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำคณะผู้บริหารกับความผูกพันองค์การของพนักงาน บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
3. ธิดาวัลย์ ปลื้มคิด. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
4. นภารัตน์ ด่านกลาง. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการมหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
5. ปาริชาติ ขำเรือง. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการจัดการ วิทยาลัยสยามราชพฤกษ์.
6. ภัทรา หิรัญรัตนพงศ์. (2542). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
7. มาลัยทิพย์ จันทน์เทศ ดวงตา สราญรมย์ วรูณี เชาวน์สุขุม. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทอดัมแพค (ประเทศไทย) จำกัด. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชุปถัมภ์.
8. เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
9. สันติ บางอ้อ. (2540). การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน. Productivity World. 2 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2540): 35-39.
10. สุรางค์ทิพย์ ทะวิไชย. (2549). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
11. อนันตชัย คงจันทร์. (2529.) ความผูกพันต่อองค์การ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 11 (กันยายน 2529) : 35–39.
12. Bluestone, I. (1997Z). Organization Citizenship Behavior Among Hospital Employee: A Multidimensional Analysis Involving Job Satisfaction and Organizational Commitment. Hospital & Health Services Administration. 42 (Summer 1997): 221-262.
13. Sheldon, M. (1971). An Empirical Analysis of Organizational Identification. Academy of Management Journal. 14 (March 1971): 149-226.
14. Steers, R.M. (1977). Organizational Effectiveness: A Behavioral View. Satana, Monica, California: Goodyear Publishing Company.
15. Steers, R. M. and L. W. Porter. (1983). Motivation and Work Behavior. (3rded.). New York : McGraw-Hill Inc .
16. Walton, R.E. (1973). Qualitity of Working Life: What is It?. Sloan Management Review. 15 (Fall 1973) : 11-12.
17. Yamane. (1973). Statistics :Introductory analysis. (3nd ed.). New York: Harper & Row.