ประสิทธิผลในการบังคับใช้พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนตำบล พ.ศ. 2551 : กรณีศึกษา จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อุลิช ดิษฐปราณีต
ขวัญศิริ เจริญทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการบังคับใช้พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนตำบล พ.ศ. 2551 ของจังหวัดจันทบุรี  วิธีการศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน  (Mixed  Method) ระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงสำรวจนั้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งหมดในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 61 แห่ง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนส่วนภูมิภาค


            ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของความก้าวหน้าในการบังคับใช้พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนตำบล ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาประสิทธิผล โดยจำแนกตามรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกับภาพรวมตามลำดับ คือ ด้านบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้านการประชุมและประสานงาน และด้านการแสดงบทบาทในฐานะกลุ่มพลังประชาธิปไตย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลนั้นจะมีผลมากตามลำดับคือ ปัจจัยด้านเนื้อหาของกฎหมาย ปัจจัยด้านการจัดการประชุมปรึกษาหารือขององค์กร ปัจจัยด้านการจัดการจัดตั้งองค์กร ปัจจัยด้านความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตำบล และปัจจัยด้านความพร้อมของทรัพยากรการบริหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกษม จ่าพันดุง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (26 ตุลาคม 2558). ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
2. ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์การให้คำปรึกษา เรื่องการพัฒนายุทธศาสตร์และการบริหารจัดการที่ดี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถแกนนำของขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด กรณีจังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
3. ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2553). รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อถอดบทเรียนในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนในจังหวัดภาคตะวันออก กรุงเทพฯ และปริมณฑล. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
4. ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. (เอกสารประกอบการสอน). จันทบุรี : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
5. รัตนา ปัชฌาชัย. (2557). บทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบลกับการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น : กรณีศึกษาใน พื้นที่ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
6. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2551). พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สถาบันฯ.
7. สุจิตรา ชนะสิทธิ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (26 ตุลาคม 2558). ที่บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
8. Teddie Charles and Tashakkori Abbas. (2009). Foundations of Mixed Methods Research : Integrating Quantitative and Qualitative Approaches in the Social and Behavioral Sciences. London : SAGE.