การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรการท่องเที่ยวเพื่อรองรับ การขึ้นทะเบียนมรดกโลกของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชและได้รับการลงมติรับรองเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก การเสริมสร้างขีดความสามารถเครือข่ายการท่องเที่ยวของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมรดกโลกเพื่อให้เกิดการคุ้มครองและอนุรักษ์อย่างยั่งยืน และทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในอนาคต โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ขีดความสามารถและสถานการณ์ปัจจุบันของเครือข่ายด้านการจัดการการท่องเที่ยววัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชต่อการรองรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และ (2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของเครือข่ายด้านการจัดการการท่องเที่ยววัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชต่อการรองรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรในเครือข่ายการท่องเที่ยววัดพระมหาธาตุฯจำเป็นต้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับมรดกโลก วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ทักษะเกี่ยวกับการสื่อสาร ทักษะด้านการบริหารจัดการ นอกจากนี้แล้วบุคลากรในเครือข่ายการท่องเที่ยววัดพระมหาธาตุฯต้องได้รับการพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพ เอกลักษณ์ของการแต่งกาย และจิตสำนึกด้านการบริการ ผ่านโปรแกรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของเครือข่ายด้านการจัดการการท่องเที่ยววัดพระมหาธาตุฯ 3 โปรแกรมดังต่อไปนี้ โปรแกรมที่ 1 สำหรับกลุ่มประชาชนในท้องถิ่น โปรแกรมที่ 2 สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และโปรแกรมที่ 3 สำหรับกลุ่มหน่วยงานสนับสนุน โดยมีหัวข้อในการเสริมสร้างขีดความสามารถที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการวางแผนและการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว มรดกโลก การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเสริมสร้างบุคลิกภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวมรดกโลก การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อรองรับการท่องเที่ยวมรดกโลก การสร้างมาตรฐานการบริการ และการสร้างประสบการณ์ที่มีค่าต่อนักท่องเที่ยว
Article Details
References
2. ไทยปลื้ม! 'พระบรมธาตุนครฯ' ขึ้นเป็นมรดกโลก. คมชัดลึกออนไลน์ [Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.komchadluek.net. 2557.
3. บุหลัน บุญผัน และประสิทธิ์ คุณุรัตน์. (2555). การประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) สำนักงานขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(2): 119-134.
4. พงศธร พิทักษ์กำพล. (2540). การบริหารงานบุคคล: การพัฒนาบุคลากรและเทคนิคการฝึกอบรม. เอกสารประกอบการเรียนภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ ราชภัฎเชียงราย.
5. พยูร นุ่นสุข.(2544). โครงการพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช [Online]. เข้าถึงได้จาก http://elibrary.trf.or.th. 2557.
6. วชิระ วิชชุวรนันท์ และคณะ. (2551). การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมแบบบูรณาการด้านอาชีพสำหรับการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลก [Online]. เข้าถึงได้จาก http://202.28.199.3/tdc/browse.php. 2556
7. อัญชลี โกกะนุช. (2551). การวิเคราะห์หาความจำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถสูงสุดของบุคลากรทางการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
8. Atsushi Matachi. (2006). Capacity Building Framework. United Nations Economic Commission for Africa, Addis Ababa, Ethiopia.
9. CIDA, P. B. (1996). Capacity development: the concept and its implementation in the CIDA context. Hull: CIDA.
10. Pedersen, A. (2002). Managing Tourism at World Heritage Sites: a Practical Manual for World Heritage Site Managers. Paris: UNESCO World Heritage.
11. UNESCO. (2011). Convention concerning the protection of the world cultural and natural heritage World Heritage Committee Thirty-fifth session. 19-29 June 2011, Unesco Headquaters, Paris.
12. World Heritage Centre. (2014). Tentative Lists: Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat [Online]. Available: http://whc.unesco.org/en/tentativelists/5752/. 2014.