การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สุธี โมเดล)

Main Article Content

สุธี วรประดิษฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยกำหนดใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Devenlopment - R&D)  ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ 


            การดำเนินงานการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่   (1) ศึกษาสภาพการบริหารกลยุทธ์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ดำเนินการวิจัยด้วยการสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) พัฒนาแบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   ดำเนินงานการวิจัยด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group)  เครื่องมือที่ใช้เป็นประเด็นการสนทนากลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  (3) ประเมินตรวจสอบและยืนยันแบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ดำเนินการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Tecnique) จำนวน 2 รอบ  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์     (4) ทดลองใช้แบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย         ดำเนินการวิจัยกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 1 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น    วิเคราะห์ข้อมูลด้วยผลข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการดำเนินงานตามขั้นตอนของแบบจำลองการบริหารกลยุทธ์ฯ และคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินความเหมาะสม ความพึงพอใจ


            ผลการวิจัย พบว่า  แบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  มี  5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การเตรียมความพร้อม มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่  (1) การทบทวนผลการดำเนินงาน (2) การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของสถานศึกษา (วัฒนธรรมองค์กร) และ(3) การกำหนดพฤติกรรมการทำงาน (ค่านิยมองค์กร) องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยนำเข้า มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์   องค์ประกอบที่ 3 การดำเนินงาน     องค์ประกอบที่ 4 การควบคุมกลยุทธ์  มี 3 องค์ประกอบย่อย  ได้แก่  (1) การนิเทศ  (2) การติดตามและประเมินผล และ (3) การรายงานผล  และ องค์ประกอบที่ 5  การประเมินผลกลยุทธ์    ทั้งนี้ จากการประเมินตรวจสอบและยืนยันแบบจำลองฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผลการประเมินความเหมาะสมจากการทดลองใช้แบบจำลองฯ พบว่า แบบจำลองเพื่อการบริหารกลยุทธ์สำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  มีความเหมาะสมและองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในระดับ มากที่สุด ทุกองค์ประกอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/main2/edu-reform/edu-reform.htm
3. ดำรง วัฒนา. (2545). คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ: ยุทธศาสตร์สู่ผลงาน.กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.
4. พวงรัตน์ เกษรแพทย์. (2545). การวางแผนกลยุทธ์ สำหรับนักการศึกษา. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
5. พสุ เตชะรินทร์. (2548). Balance Scorecard รู้ลึกในการปฏิบิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. พสุ เตชะรินทร์.(2551). ชุดเครื่องมือการพัฒนาองค์การ (Organization Improvement Toolkits)ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย.
7. พิบูล ทีปะปาล. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพ : อมรการพิมพ์.
8. ภาวัฒน์ พันธ์แพ. (2548). ผู้นำกับวัฒนธรรมองค์การ.วารสารสุทธิปริทัศน์. 19 (58): 43-57.
9. วีระเดช เชื้อนาม. (2547). เขย่า Balance Scorecard แล้วลงมือทำทีละขั้นตอนตลอดแนว. กรุงเทพฯ เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
10.วัฒนา พัฒนพงศ์. (2546). BSC และ KPI เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : แปซิฟิก.
11. สิริวุฒิ บูรณพิร. (2546.) Balanced Scorecard ระดับ องค์กรสำหรับมหาวิทยาลัยไทย, จุฬาลงกรณ์วารสาร. 16, 61 (ตุลาคม – ธันวาคม 2546) : 12 - 13.
12. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. บทสรุปผู้บริหาร. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/Report/index.php?SystemModuleKey= product&inputSchoolName=&inputSum Report=3&inputTypeSumReport=0 & inputMinistryID=39&province=208&BorderID=&inputborder=&inputArrange=1#
13. อุทิศ ขาวเธียร. (2549). การวางแผนกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. อำพร เรืองศรี. (2557). การวางแผนกลยุทธ์ระดับ สถานศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/307234.
15. Cronbach, Lee. J. (1990) . Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York : Harper Collins Publishers Inc.
16. Grayson, W. (1992). Constructivist Perspective and Mathematics, Science Education.76 (March 1992), 1 - 72.
17. Kaplan, R. S. and Norton, D.P. (2001). The Strategy – Focused Organization. Boston : Harvard Business School Press.
18. Loo, R. (2002). The Delphi Method: a Powerful tool for Strategic Management. An International Journal of Police Strategic & Management. Vol. 25 No. 4 pp. 762 - 769.
19. Lussier, Robert N. (2003). Management fundamentals: concepts, applications, skill development. Singapore : Thomson/South-Western.
20. Paisey, Alan. (1981). Organization and Management in school Perspectives for Practising Teachers and Governors. 2nd ed. London : Longman.
21. Stewart, B.J. and Lyman W. (2000). Management Meeting New Challenges. Upper Saddle River N.J. : Prentice Hall.
22. Yamane, Taro. (1970). Statistics: An Introductory Analysis, 2 nd ed., New York : Harper and Row.