แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สู่ความเป็นครูมืออาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในทัศนะของครูพี่เลี้ยง เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในทัศนะของครูพี่เลี้ยงจำแนกตามสาขาวิชาเอก และศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สู่ความเป็นครูมืออาชีพ ผู้วิจัย
ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 38 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .54 – .93 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
สู่ความเป็นครูมืออาชีพ ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า
- คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ในทัศนะของครูพี่เลี้ยง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการปฏิบัติตนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพอยู่ในระดับมาก - เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในทัศนะของครูพี่เลี้ยงจำแนกตามสาขาวิชาเอก โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรายด้านทั้งด้านการปฏิบัติตน ด้านการปฏิบัติงาน และด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สู่ความเป็นครูมืออาชีพ มีดังนี้ 1) มีการกำหนดอัตตลักษณ์อันเป็นคุณสมบัติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีอย่างชัดเจน 2) จัดกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาชีพครู และวิชาอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง โดยสอดแทรกการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา 3) จัดอบรมหรือเพิ่มเติมด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ในเรื่องการจัดทำโครงงานทางวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร และการวิจัยทางการศึกษาให้มากขึ้น
4) กำหนดให้มีรายวิชาที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เป็นวิชาเลือก
5) มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือโครงการที่เน้นการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา และเป็นกิจกรรมที่
จัดอย่างต่อเนื่อง 6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนหรือพบปะกันระหว่างสถาบันการผลิตบัณฑิตครูและผู้ใช้บัณฑิต เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูร่วมกัน และ 7) มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น
ในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Article Details
References
2. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2543). แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
4. สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล. (2556). กิจกรรมสร้างเสริมวินัยในตนเองของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
5. สุวิมล ว่องวานิช. (2544). การพัฒนามาตรฐานคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. Best, John W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.
7. Cronbarch, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.
8. Yamane, Taro. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.