การพัฒนารูปแบบการบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุวัฒนา จิตต์รัตนอรุณ
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

      การพัฒนารูปแบบการบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ดำเนินการสำรวจสภาพการบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาจากผู้บริหารและครูประถมศึกษา จำนวน  712  คน  ตรวจสอบองค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  17  คน  และนำรูปแบบไปทดลองใช้กับสถานศึกษาขนาดเล็ก  กลางและใหญ่ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์ การเขียนสะท้อนความรู้สึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ค่ามัธยฐานและส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาและหาข้อสรุปเชิงอุปนัย  พบว่า  รูปแบบการบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีลักษณะเป็นแผนภูมิโครงสร้างกระบวนการดำเนินการบูรณาการแนวคิด


จิตตปัญญาศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา  ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ  และผลผลิต  มีกระบวนการ  5  ขั้นตอน  คือ 1) สร้างความมุ่งมั่นในการประกันคุณภาพการศึกษา   2) วางแผนการปฏิบัติงานอย่างใคร่ครวญด้วยความรักความเมตตา   3) ปฏิบัติงานด้วยการพิจารณาอย่างใคร่ครวญและกล้าเผชิญ   4) ตรวจสอบ


การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยง และ 5) ปรับปรุงงานอย่างใคร่ครวญทำให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  ในแต่ละขั้นดำเนินการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) และผลการทดลองใช้พบว่าทั้งผู้บริหารและครูประถมศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทักษะและพฤติกรรมการปฏิบัติงานในทางที่ดีขึ้น  โดยรูปแบบนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษาตามเกณฑ์การประเมินด้านประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรศศิร์ ชิดดี และณัฐพร อุทัยธรรม. (2556). กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา: กลยุทธ์การพัฒนาบุคลิกภาพนักศึกษาพยาบาล. วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี.
2. ฆนัท ธาตุทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. คณะครุศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
3. จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2550). การวิจัยและพัฒนาจิตตปัญญาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. ทิภาวรรณ เลขวัฒนะ. (2551). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการเทียบเคียงสมรรถนะ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
5. ธนา นิลชัยโกวิทย์, อดิศร จันทรสุข, พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์ และอัญชลี สถิรเศรษฐ์. (2550)ชุดการเรียนรู้การอบรมและกระบวนกรด้านจิตตปัญญาศึกษา. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม), สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
6. ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์. (2555). กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. ประเวศ วะสี. จิตตปัญญาศึกษา. [ออนไลน์] สืบค้นได้จาก http://www.ce.mahidol.ac.th
8. วันทนีย์ นามสวัสดิ์. (2556). ผลการใช้จิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
9. วิชญา ผิวคำ. (2553). กรณีศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. วิชัย เสวกงาม. (2552). การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ซิกมาและการประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. วิชิต เรืองแป้น. (2555). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาสู่ความเป็นเลิศในอนาคต. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
12. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย:การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. สิทธิชัย เจริญพิวัฒนพงษ์. (2552). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในตามแนวทางการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กรสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. สุกัญญรัตน์ คงงาม. (2552). การพัฒนาโมเดลการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ด้านการประกันคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. สุทิน เจียมประโคน. (2556). การพัฒนาคุณค่าในตนเองตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
16. หฤทัย อาจปรุ. (2552). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์: การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินความต้องการจำเป็นและการประเมินพหุพื้นที่. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. 2nd. ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates .
18. Davidson, J. R. et al. Contemplative Practices and Mental Training: Prospects for American Education. [online] http://www.investigatinghealthyminds.org/
19. Mackler, J. (2008). What is Contemplative Education and What are some Ways to Introduce it into Higher Education in Mexico?. [online] http://www.fonael.org-fonael@fonael.org
20. Waters., L., et al. (2015). Contemplative Education: A Systematic, Evidence-Based Review of the effect of Meditation Interventions in Schools. Educ Psychol Rev 27: 103 – 134 [online] doi: 10.1007/s10648-014-9258-2