การศึกษาศักยภาพผู้นำชุมชน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในกระบวนการเรียนการสอนวิชาภาวะผู้นำและผู้ตาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำชุมชน ศึกษาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพของผู้นำชุมชน ศึกษาการพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้นำชุมชนในเทศบาลเมืองท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และเพื่อนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาภาวะผู้นำและผู้ตาม
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้นำชุมชน ในเทศบาลเมืองท่าช้าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีความหลากหลายทาง ด้านอายุ ส่วนระดับการศึกษา โดยส่วนมากต่ำกว่าระดับปริญญาตรี แต่ผู้นำชุมชน ในเทศบาลเมืองท่าช้างมีความสามารถในการช่วยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมด้วยมีทัศนคติในการทำงานเพื่อชุมชน และร่วมดำเนินงานต่างๆ อย่าง เต็มศักยภาพ 2) ผู้นำชุมชน มีทัศนคติด้านบวกต่อการทำงานเพื่อชุมชน อีกทั้งเป็นผู้นำทางความคิด อาชีพ และ ด้านศีลธรรม 3) ผู้นำชุมชนสามารถประยุกต์งานราชการกับเป้าหมายเพื่อชาวบ้าน โดยเสนอแผนงานและกิจกรรมเข้าสู่หน่วยราชการได้และสามารถประสานทรัพยากรภายในและภายนอกชุมชน 4) การนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาวะผู้นำและผู้ตาม โดยได้เชิญผู้นำในกลุ่มผู้สูงวัยมาให้ความรู้กับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาวะผู้นำและผู้ตาม ทั้งนี้จะได้ดำเนินการจัดสัมมนาการเพิ่มศักยภาพภาวะผู้นำและผู้ตามให้กับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้ในแต่และภาคการศึกษาต่อไป สำหรับข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปนั้นควรมีการทำการวิจัยในเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาสัมพันธภาพระหว่างผู้นำชุมชน กับกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยใช้การศึกษาปัจจัยภายในได้แก่ ศักยภาพและบทบาทของผู้นำชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน และคุณลักษณะของสมาชิกชุมชน และปัจจัยภายนอก ได้แก่การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและชุมชนอื่นๆมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
2. นภา จันทร์ตรี และคณะ. (2556). ความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีต่อการให้บริการทาง รายงานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์.จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
3. นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ : พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร : อินโนกราฟฟิกส์.
4. เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2547). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
5. ประณยา จองบุญวัฒนา. (2555). คู่มือพัฒนาภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.
6. เปรมจิต(เปรมชญา) ชนะวงศ์ และคณะ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชน เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของชุมชน. รายงานการวิจัยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ของชุมชนด้วยกระบวนการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
7. ยุดา รักไทย. (2546). คู่มือ...ฝึกหัดพัฒนาทักษะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.
8. รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2545). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัย.
9. วรางคณา วงศ์มหาชัย. (2535). บทบาทของผู้นำในการพัฒนาองค์กรประชาชน :ศึกษาเฉพาะกรณีการพัฒนาองค์กรประชาชนระหว่างชุมชน ของมูลนิธิพัฒนาอีสาน. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
10. วันดี อภิรักษ์ธนากร. (2555). ภาวะผู้นำ 5 ระดับ. กรุงเทพมหานคร : เนชั่นบุ๊คส์.
11. สมพัมธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2537). ศักยภาพและเครือข่ายผู้นำชาวบ้าน คู่มือและทิศทางการพัฒนาผู้นำชาวบ้าน เพื่อแก้ปัญหาในชนบท.กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์การพิมพ์.
12. สุรีย์มาศ สุขกสิ. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา. รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.