ผลการจัดกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

Main Article Content

ชีวัน เขียววิจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ก่อนและหลัง เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนา 2) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 168 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) 


            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ      


  1. แบบวัดความคิดสร้างสรรค์

  2. แผนการจัดกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนา

  3. แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนา

การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest – Posttest Design และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วย t-test  for Dependent  Samples ผลการวิจัยพบว่า  1. นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่ได้จากการทำแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละด้านมีคุณลักษณะดังนี้  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Originality)   ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) และความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนา สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงวิพิธทัศนาของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม  การแสดงวิพิธทัศนา ได้ค่าเฉลี่ย 3.65 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.776 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. นภาพร ฟักมี. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมดนตรีที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์. กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
2. บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
3. ประพนธ์ พิสัยพันธุ์. (2541). ผลการรับรู้เชิงสุนทรียะที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์. กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร
4. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง
5. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
6. พัชรมณฑ์ ศุภสุข. (2556). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทาน ประกอบคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้างควบคู่การเสริมแรงทางสังคม. ปริญญานิพนธ์. กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร
7. เยาวพา เดชะคุปต์. (2546). รายงานผลการวิจัย เรื่อง ความสามารถทางสติปัญญากับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นเด็กเล็กโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
8. โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน. (2554). วิทยนิเทศ. กรุงเทพฯ:
9. ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
10. วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
11. วิชัย วงษ์ใหญ่. (2553). เอกสารประกอบการเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
12. สมศักดิ์ ภู่วิภาวรรธน์. (2537). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
13. สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ.(2555). พัฒนาทักษะการคิด...ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง
14. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
15. อารี รังสินันท์. (2526) ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ธนการพิมพ์.
16. อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์ปริ้น.
17. อุทัยวรรณ ปิ่นประชาสรรค์. (2540). การละครสำหรับครูประถม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
18. Guilford, J.P. (1988). “Som change in the structure of intellect model,” Educational Psychological Measurement. 48(1): 1 - 4.
19. Mile, Elzabeth. (1999). Tune your brain. New York : The Berkley Publishing Group. Nickerson.
20. R.S. Fosteringcreativity. RetievedMay.(2007) from http://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page.
21. Torrance E.P.(1965). Rewarding behavior: experiments in classroom creativity. Englewood cliffs, N.J.: Prentice Hall inc.