คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ภาษิต ลิ้มประยูร
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2)เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและรายได้ 3)เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  4)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  ผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ(Mixed Method)  กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 180 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ t – test และ One-Way ANOVA โดยที่กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปความตามประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาการวิจัยพบว่า 1)คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีโดยภาพรวม พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม พนักงานสายสนับสนุนให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง  รองลงมาได้แก่ด้านการบูรณาการทางสังคม(การทำงานร่วมกัน)  และด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงานพนักงานสายสนับสนุนให้ความสำคัญเป็นอันดับสุดท้าย 2)เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา  สถานภาพการสมรส  ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและรายได้ต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน 3)ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน ยังไม่มีระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับความก้าวหน้าของพนักงานที่ดีพอและไม่มีการวางแผนโอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพให้กับพนักงาน  4)ข้อเสนอแนะพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการให้มหาวิทยาลัยวางแผนเกี่ยวกับความก้าวหน้าของพนักงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความรู้ความสามารถ ตำแหน่งและหน้าที่ของพนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อความเติบโตในหน้าที่การงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กมลวรรณ อยู่ขวัญ. (2547). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา /กมลวรรณ อยู่ขวัญ.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
2. จารุวรรณ สังข์เอียด. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. ธัญญารัตน์ แย้มวงษ์. (2552). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานครูโรงเรียนเมืองพัทยา 8 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. ณปภัช ตะสิงห์. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดสระบุรี.ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
5. นงนภาทิพย์ นาคำ. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. นพวรรณ วีรโอฬารสิทธิ์. (2548). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานโยบาย สาธารณะ, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. ปวีณา ผาสุก. (2547).คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
8. พงศ์ หรดาล. (2545). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร ม.ป.ท.
9. พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงงานอุตสาหกรรมใน เขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี.วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม,5(1-2),167-176.
10. หน่วยงานการเจ้าหน้าที่. (2557) กองกลาง สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
11. อรวรรณ ผดุงรัชดากิจ. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษาข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต,สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยบูรพา.
12. Alderfer, Clayton P. (1969). A New Theory of Human Needs : Organizational Behavior and Human Performance. New York : McGraw-Hill Book Co.
13. Richard E.Walton. (1973). May - June. Improving the Quality of Work Life, Harvard Business Review 52 (3): 12-16