คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในภาคตะวันออกของไทย

Main Article Content

อนุรักษ์ เรืองรอบ

บทคัดย่อ

    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตของโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตของโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ และ 3) เพื่อทดสอบระดับอิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตของโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ โดยกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ ได้แก่ กลุ่มพนักงานฝ่ายผิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในภาคตะวันออกของไทย จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณ


    ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับค่าเฉลี่ยของตัวแปรด้านคุณภาพชีวิตโดยรวมของพนักงานฝ่ายผลิตอยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรด้านประสิทธิภาพการทำงาน พบว่า ประสิทธิภาพด้านเวลาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านคุณภาพ และด้านปริมาณ ตามลำดับ และ 3) คุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 5 ด้านมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตทั้ง 3 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ชาคริต ชาญชิตปรีชา, โสภัชย์ วรวิวัฒน์ และศิวดล ยาคล้าย. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของกำลังพล กรมทหารราบที่ 3. วารสารเกษมบัณฑิต. 19(พิเศษ). 29-40.
2. ทศวรรณ เอี่ยมวิมังสา และเกียรติชัย เวษฎาพันธุ์. (2558). การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 5(1): 275-282.
3. ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์. (2561). การศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนโมเดลคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(28): 76-84.
4. ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การและความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารนักบริหาร. 37(1): 83-96.
5. ปิยานันท์ นิ่มวุ่น, พูลฉัตร วิชัยดิษฐ, สนชัย ใจเย็น. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างในสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตภาคใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 8(1): 215-226.
6. รสสุคนธ์ ภู่น้อย และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 13(44): 58-69.
7. ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561).อิทธิพลของคุณลักษณะงานและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อการบริการที่เป็นเลิศผ่านความผูกพันในอาชีพของพนักงานโรงแรมในอำเภอหัวหิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(29): 241-253.
8. วรรณภา ลือกิตินันท์. (2560). การรับรู้การพัฒนาองค์กรสุขภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน : กรณีศึกษา องค์กรสุขภาวะที่เป็นภาคีเครือข่ายในภาคตะวันออก. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 27(1): 151-162.
9. ศิริพร ลือวิภาสกุล และ ชวนชม ชินะตังกูร. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจไทย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 1(2): 232-244.
10. สุดปราโมทย์ วัฒนรัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานองค์การมหาชน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12(1): 28-38.
11. สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2561 และแนวโน้มปี 2562. กรุงเทพ: กระทรวงอุตสาหกรรม.
12. Acton, T. and Golden, Willie. (2003). Training the knowledge worker: A descriptive study of training practices in irish software companies. Journal of European Industrial Training. 27(2/3/4): 137-146.
13. Chiu, R. K., Luk, V., Wai-Mei T. and Li-Ping, T. (2002). Retaining and motivating employees: Compensation preferences in hong kong and china. Personnel Review. 31(4): 402-431.
14. Farid, H., Izadi, Z., Ismail, I. A. and Alipour, F. (2015). Relationship between quality of work life and organizational commitment among lecturers in a Malaysian public research university. Social Science Journal. 52(1): 54-61.
15. Ghemawat, P. and Ricart, J. E. (1993). The Organizational Tension between Static and Dynamic Efficiency. Strategic Management Journal. 14(52): 1-23.
16. Gambi, L. D. N, Boer, H., Gerolamo, M. C., Jørgensen, S. F. and Carpinetti, L. C. R. (2015). The relationship between organizational culture and quality techniques, and its impact on operational performance. International Journal of Operations & Production Management Decision. 35(10): 1460-1484.
17. Kooij, Dorien T.A.M., Guest, David E., Clinton, Mike, Knight, Terry, Jansen, Paul G.W. and Dikkers, Josje S.E. (2013). How the impact of hr practices on employee wellbeing and performance changes with age. Human Resource Management Journal. 23(1): 18-35.
18. Low, S. P. and Show, M. Y. (2008). Facilities design incorporating just‐in‐time principles for ramp‐up light factories in Singapore, Facilities. 26(7/8): 321-42.
19. Nunnally, J.C. and Bernstein, I.H. (1994). Psychometric Theory. McGraw-Hill: New York.
20. Prieto, I. M. and Revilla, E. (2006). Learning capability and business performance: A non‐financial and financial assessment. The Learning Organization. 13(2): 166-185.
21. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.