การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

ธันยนันท์ สมบูรณ์รัตนโชค
วิสันต์ ลมไธสง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นผู้สูงอายุ (61 ปีขึ้นไป) ใน 3 จังหวัดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ ชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา จำนวน 400 ชุด ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แบบ Independent sample t-test และ One -way ANOVA F-test เพื่อทดสอบระดับความต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม และ 3 กลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 หรือที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ตามลำดับ


            ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมระดับคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.74) เช่นเดียวกับระดับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจก็อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x} = 2.54) ในขณะที่ระดับคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{x} = 2.27) และ ( gif.latex?\bar{x}= 2.34) ตามลำดับ เช่นเดียวกับระดับคุณภาพชีวิตด้านสิทธิเสรีภาพที่อยู่ในระดับน้อย ( gif.latex?\bar{x}= 2.43) เช่นเดียวกัน ในส่วนผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จากการศึกษาพบว่า เพศต่างกัน มีระดับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจต่างกัน ในขณะที่อายุต่างกัน จะมีระดับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ในส่วนของระดับการศึกษา จำนวนบุตร-ธิดา ประเภทที่พักอาศัย อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และที่มาของรายได้ จะมีระดับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสิทธิเสรีภาพ แตกต่างกัน ในขณะที่ สุขภาพ จะมีระดับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านสัมพันธภาพทางสังคม แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จิราพร เกศพิชญวัฒนา และคณะ. (2543). สูงวัยไม่สูญค่า. กรุงเทพฯ: สมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง
2. ชินัณ บุญเรืองรัตน์. (2551). ความผาสุกทางจิตวิญญาณและความสุขของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขภาพจิต, คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
3. น้ำฝน กองอรินทร์, ชลธิชา เรือนคำ และ โรชินี อุปรา. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุตั้งแต่วัยกลางขึ้นไปในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
4. บังอร ธรรมศิริ. (2549). ครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุ. ปทุมธานี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
5. ปิ่นนเรศ กาศอุดม และคณะ. (2550). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออก. จันทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี
6. พจนา ศรีเจริญ. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสมาคมข้าราชการนอกประจำการในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยรราชภัฏเลย.
7. มนพัทธ์ อารัมภ์วิโรจน์ และคณะ. (2554). การปรับตัวและการสนับสนุนด้านสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. Srinagarind Medical Journal. 26(3), 161 - 256.
8. มยุรี พงษ์นาค. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาคหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
9. รักษพล สนิทยา และวิราภรณ์ โพธิศิริ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในจังหวัดน่าน. วารสารการประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล, 6(2), 55-63.
10. วิทธิลักษณ์ จันทร์ธนสมบัติ. (2552). ทัศนะต่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา สาธารณสุข 40 บางแค. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
11. วิพรรณ ประจวบเหมาะและคณะ. (2553). การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2545-2550. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
12. วิราภรณ์ โพธิศิริ, ปัทพร สุคนธมาน และ วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2555). สถานภาพสมรสกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารประชากรศาสตร์, 28(1), 1-29.
13. สุทธิชัย จิตะพันธุ์ และคณะ (2543). ภาพลักษณ์ของประชากรผู้สูงอายุและระบบสวัสดิการและบริการในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. สุนทรี พัวเวส. (2553). พลังผู้สูงอายุ สร้างสังคมไทยรู้รักสามัคคี. สารรักผู้สูงวัย, 2(6), 4-5.
15. อุทัย สุดสุข และคณะ. (2552). โครงการศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันความต้องการและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สมาคมคลังปัญญาอาวุโสแห่งประเทศไทย.
16. Beadle B. J., Murphy, G., and Diterlizzi, M. (2008). Quality of Life for the Camberwell Cohort. Journal of Applied Research in Intellectual Disabilities, 24. 380-390.
17. Dijksterhuis, A., Nordgren, L. F., and Bos, M. W. (2011). The best of both worlds: Integrating conscious and unconscious thought best solves complex decisions. Journal of Experimental Social Psychology, 47, 509-511.
18. Jett, S. C. (2008). Possible Jomon/Valdivia connectios with West Mexico and Southern California. Pre-Columbiana: A journal of long distance contacts, 4(2), 37-38.
19. Lawton, M. (1985). Alcohol in breastmilk. Australian and New Zealand Journal of Obstetrics and Gynecology, 25, 71‐3.
20. Layard, R. (2005). Happiness: Lessons from a new science. Journal of Foreign Affairs, 84, 122-130.
21. Markides, K. and Martin H.W. (1979). A Causal Model of Life Satisfaction among the Elderly. Journal of Gerontology, 34(1), 86-93.
22. OECD. (2006). Assessing scientific, reading and mathematical literacy: a framework for PISA 2006. (Online). Available: http://lst-iiep.iiep-unesco.org/cgi-bin/wwwi32.exe/[in=epidoc1.in]/?t2000=023400/(100)
23. Schalock, R. L., and Verdugo, M. A. (2002). Quality of life for human service practitioners. Washington, DC: American Association on Mental Retardation.
24. United Nations. (2005). Report on world social situation finds much of world trapped in Inequality predicament. (Online). Available: https://www.un.org/press/en/2005/soc4681.doc.htm
25. United Nations. (2018). World Population Ageing. (Online). Available: https://www.un.org/en/ development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2017_Highlights.pdf
26. WHO. (2005). The World Health Report 2005 - make every mother and child count. (Online). Available: https://www.who.int/whr/2005/en/
27. Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.