การบังคับใช้ประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: ปลาร้า: ศึกษากรณีผู้ผลิตและ ผู้จำหน่ายรายย่อยในเขตจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ปองปรีดา ทองมาดี
สายสิริ ศิริวิริยะกุล
ฉัตรชัย ทศสอาด
ศรีประไพ ม่วงพุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้ประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: ปลาร้าผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปลาร้า และแนวทางแก้ไขปัญหาและวิธีปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อการบังคับใช้ประกาศฉบับนี้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้ผลิตปลาร้า ผู้จำหน่ายปลาร้าพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์รายบุคคล (Individual interviews) ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาการบังคับใช้ผู้ผลิตและจำหน่ายไม่ทราบเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเปลี่ยนแปลงสูตรปลาร้าดั้งเดิมและลดความหลากหลายของปลาร้า (2) ผลกระทบต่อผู้ผลิตปลาร้า มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เปลี่ยนแปลงสูตรการผลิตปลาร้า การพัฒนาการผลิตถูกควบคุมโดยกฎหมาย (3)  ผลกระทบต่อผู้จำหน่ายปลาร้า ราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ซื้อลดลง การตรวจสอบคุณภาพปลาร้าไม่ทั่วถึง (4) แนวทางแก้ไขปัญหาและวิธีปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ด้านผู้ผลิตควรเพิ่มต้นทุนอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานสูงกว่า มุ่งเน้นการรักษาสูตรดั้งเดิมเอาไว้และปรับปรุงการผลิตเท่าที่จำเป็น ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ซื้อเข้าใจเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงการผลิต ด้านผู้จำหน่ายไม่ควรเพิ่มราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องรับซื้อปลาร้าที่ถูกต้องตามกฎหมายมาจำหน่าย ด้านภาครัฐควรทบทวนประกาศฉบับนี้ให้สอดคล้องกับสังคมท้องถิ่น เอื้ออำนวยต่อการขออนุญาตรับรองมาตรฐาน ควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 เพิ่มโทษปรับกรณีนำสิ่งปลอมปนในปลาร้า จากเดิมปรับไม่เกินหกหมื่นบาทควรเพิ่มโทษปรับเป็นปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรุง ณ ฉัตร. (2560). ปลาร้าทรงเครื่อง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.
2. ข่าวประชาไท.(2561). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดมาตรฐานปลาร้า.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://prachatai.com/journal/2018/04/76422. [4 เมษายน 2561].
3. จินตหรา แสนสามารถ. (2559). “การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาแปรรูป บ้านน้ำพ่น ตำบลน้ำพ่นอำเภอหนองวัวซอจังหวัดอุดรธานี”. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการผสมผสานวัฒนธรรมไทยก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. 29 กรกฎาคม 2559. ณ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี.
4. ไทอีสานมักม่วน. (2561). ที่มาของ “ปลาร้าหรือปลาแดก” ธุรกิจเงินล้านที่กำลังมาแรงและเป็นที่นิยม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้: http://xn--12cmh8bbc4da0bh2bc2a3d5edobk6sg.com/archives/7005. [25 พฤษภาคม2561].
5. นภาพร หงส์ภักดี และสืบพงศ์ หงส์ภักดี. (2560). “การศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบและวิธีการการจำนำปลาร้าโดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าแม่น้ำโขง อำเภอชานุมานจังหวัดอำนาจเจริญ”. คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
6. ปัญจภรณ์ ทัดพิชญางกูร หรหมโชติ. (2560). “องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติการต้านออกซิเดชันของปลาร้า”วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 19 (ปักษ์สอง พฤษภาคม): 159 - 172.
7. สมบูรณ์ ชินบุตร, บังอร กล่ำสุวรรณ์, พงศ์สุรางค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, ตำแหน่ง สินสวาท, และนันทยา จงใจเทศ. (2551).“ปลาร้าเสริมไอโอดีน : ทางเลือกใหม่ในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน”. กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
8. อาภร สุนทรชัย, มนันญา ทองบ่อ, และยุพดี ทองโคตร. (2558). “ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าปลาร้าบองท่าตูม (OTOP) ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี”. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา.
9. อนุชิตา มุ่งงาม. (2561). เมนูอาหาร จากปลาร้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ขอนแก่น: บริษัท ศิริภัณฑ์ จำกัด.
10. VOICETV. (2561). คุณภาพชีวิต มกอช. ชี้ประกาศมาตรฐานปลาร้าช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น สร้างรายได้เข้าประเทศ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้: https://voicetv.co.th/read/H1V3egDhz. [20 เมษายน 2561].