การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึกเรื่องสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กับกลุ่มผู้บริหารและครู โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง จำนวน 6 โรงเรียน กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการ 2) พัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟายกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 8 คน และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติในสถานศึกษา โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 โรงเรียน จำนวน 104 คน สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รูปแบบการจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการ 7 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 39 ประเด็น (2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มี 47 ประเด็น (3) ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน มี 33 ประเด็น (4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มี 30 ประเด็น (5) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มี 32 ประเด็น (6) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มี 34 ประเด็น (7) ด้านการนิเทศการศึกษา มี 27 ประเด็น โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้น ประกอบด้วย (1) ขั้นการกำหนดความรู้ (2) ขั้นการสร้างและแสวงหาความรู้ (3) ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ (4) ขั้นการจัดเก็บความรู้ ให้เป็นระบบ (5) ขั้นการนำความรู้ไปใช้
- ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ในการนำรูปแบบการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 7 ด้านไปใช้ปฏิบัติในสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้น ในการจัดการความรู้การบริหารงานวิชาการ ในการนำไปใช้ปฏิบัติในโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
2. ณัฐชา จันทร์ดา. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. เตือนใจ รักษาพงศ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
5. นวลจิตต์ เชาวดีดีรติพงศ์. (2545). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักปฏิรูปการศึกษา.
6. นิคม ทาแดง. (2545). เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
7. บรรพต สุวรรณประเสริฐ. (2544). การพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: The knowledge Center.
8. บุญส่ง หาญพานิช. (2547). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. ปฏิมา พุฒตาลดง. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่าง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
10. ประภาศรี พิทอนวอน. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนำ ASEAN curriculum sourcebook ไปใช้ในสถานศึกษา สำหรับครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
11. ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล. (2555). มติครู: ร.ร.ขนาดเล็ก: พื้นที่เรียนรู้ของชุมชน. มติชน. 32 (1 เมษายน): 5.
12. ปิยะนารถ บุญมีพิพิธ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
13. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้:ปฏิรูปการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎพระนคร.
14. มนตรี แย้มกสิกร. (2547). การวิจัยและเทคดนโลยีและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
15. วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
16. วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2549).การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
17. วิจารณ์ พานิช. (2547). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
18. ศิริลักษณ์ เส็งมี. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
19. สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์. (2559). รูปแบบการจัดการความรู้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
20. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). เรียนรู้...บูรณาการ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
21. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์.
22. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สํานักงานฯ.
23. สุรีย์ บุญรักษา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา: กรณีศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค). ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
24. Marali, Y. (2001). Knowledge Management and Organizational competence. New York: New York University Press.