การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุริศา ริมคีรี
ธร สุนทรายุทธ
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการวิทยฐานะเชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 4 คน อดีตผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 2 คน ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 6 คน  และครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 5 คน รวม 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์
กึ่งโครงสร้างปลายปิด และแบบสอบถามความเห็นการวัดเจตคติเชิงจิตวิทยา 4 ตัวเลือก สำหรับประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องเพื่อสอบยันตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าฐานนิยม (Mode)และค่ามัธยฐาน (Mdn) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR)


ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 65 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมและสอดคล้อง มีค่า
มัธยฐาน (Mdn) ตั้งแต่2.50 ขึ้นไป ค่าความแตกต่างระหว่างค่าฐานนิยม (Mode)และค่ามัธยฐาน (Mdn) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) ไม่เกิน 1.25 ทุกตัวบ่งชี้ โดยตัวบ่งชี้ของทุกองค์ประกอบมีความสำคัญอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมขององค์ประกอบจากมากไปน้อยคือ 1) นิสัยนวัตกรรม 2) การบริหารเชิงกลยุทธ์
3) การจัดการความรู้ 4) ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ 5) การสื่อสาร 6) ผลลัพธ์นวัตกรรม 7) โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม
8) บรรยากาศนวัตกรรม และ 9) การบริหารและพัฒนาบุคลากร เป็นลำดับสุดท้าย โดยผลการประเมินความเหมาะสม
และความสอดคล้องเพื่อสอบยันตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 9 องค์ประกอบ 65 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องทุกตัวบ่งชี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรองทอง เขียนทอง. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารจัดการที่ดีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สาขาการบริหารการศึกษา, ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุครุภัณฑ์.
3. กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการกำหนดเขตพื้นที่มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
4. กุศล ทองวัน. (2553). วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 33 (ตุลาคม-ธันวาคม).
5. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2544). สถิติการศึกษาและแนวโน้ม. ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. นรวัตฒ์ ชุติวงศ์ และ ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 34 (กรกฎาคม-กันยายน).
7. เบ็ง คาร์ลอฟ. (2544). คู่มือวิธีเทียบเคียง แข่งดี. แปลจาก Bench marking Workbook โดย ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: Be Bright Book.
8. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นําเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ :กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. รมิดา ถิรปาลวัฒน์. (2557). ความเป็นองค์กรนวัตกรรมและความสามารถทางนวัตกรรมของพยาบาลวิชาชีพ. วารสาร วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ, ปีที่ 13 (พฤษภาคม-สิงหาคม).
10. รัตนวดี โมรากุล. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University : ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 10 (กันยายน - ธันวาคม): 2341-2355
11. วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). ศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ปีที่ 9 (มกราคม เมษายน): 949-968.
12. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การจัดการความรู้. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การจัดการความรู้#กรอบแนวคิดการจัดการความรู้. 2561.
13. วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :อักษรพิพัฒน์.
14. ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม ทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปีที่ 30 (เมษายน-มิถุนายน).
15. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การจัดการความรู้กับนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.
16. สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 14 (พฤษภาคม-สิงหาคม).
17. สุธี ปิงสุทธิวงศ์. Benchmarking เรียนรู้จากผู้ที่เก่งกว่า เข้าถึงได้จาก https://www.ftpi.or.th/2015/2114. 2562.
18. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). พลวัตนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
19. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (2560). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ PLC สู่การพัฒนา คุณภาพผู้เรียน Thailand 4.0 ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2560. มปท.
20. องค์อร ประจันเขตต์. (2557). องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก, ปีที่ 15 (มกราคม-เมษายน): 45-51.
21. อมร นนทสุต. นวตักรรมกับการพัฒนางานสาธารณสุข. (Online). เข้าถึงได้จาก http://www.nakhonphc.go.th/datacenter/doc_download/p13290752.pdf. 2558.
22. อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่12(ฉบับพิเศษ).
23. Carmeli, A. (2006). Self-leadership skills and innovative behavior at work. International Journal of Manpower, Vol 27 (1): 75-90.
24. Christiansen, James A. (2000). Building The Innovative Organization: Management Systems that Encourage Innovation. Hampshire: Macmillan Press.
25. Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin, TX: Southwest Educational Development Laboratory.
26. Likert, R. (1932). "A Technique for the Measurement of Attitudes." Archives of Psychology 140(1932)..
27. Nicholson, N., & West, M. (1988). Managerial Job Change: Men and Women in Transition. Cambridge: Cambridge University Press. Vol. 14 (Oct.,1989).
28. Parmenter, D. (2010). Key performance indicators: developing, implementing, and using winning KPIs. Hoboken, N.J., Wiley.
29. Padilha, C. K., & Gomes, G. (2016). Innovation culture and performance in innovation of products and processes: a study in companies of textile industry. RAI Revista de Administração e Inovação, Vol.13 (4).
30. Quinn, J.B. (1991). Managing innovation: controlled chaos. Harvard Business Review, Vol.63 (3).
31. Rushton, R., & West, M. A. (1988). Mismatches in Work Role Transitions. MRC/ESRC Social and Applied Psychology Unit, University of Sheffield, Memo Number.
32. Sergiovanni, T. J. (1994). The Jossey-Bass education series. Building community in schools. San Francisco, CA, US: Jossey-Bass.
33. Sazandrishvili, N. (2009). Contextual and Personal Antecedents of Innovative Behavior Mediation Effect of Learning Goal Orientation on The Relationship between Job Anatomy and Innovative Behavior. USA: University of Twente.
34. Tidd, Joe., Bessant, John. and Pavitt, Keith. (2001). Managing Innovation. 2nd ed. Chichester: John Willey and Son.